ทุนสร้างซีรีส์เกาหลีต้องใช้เงินเท่าไหร่? งบประมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะซีรีส์ของ Netflix ทั้ง Kingdom และ Sweet Home
2021-06-29 09:08:34
Advertisement
คลิก!!!

ทุนในการสร้างซีรีส์เกาหลีต้องใช้เงินเท่าไหร่? เป็นคำถามที่ง่าย แต่ยากในการตอบเพราะเมื่อเวลายิ่งผ่านไป คำตอบยิ่งซับซ้อนมากขึ้น

เมื่อ 20 ปีก่อน ช่องโทรทัศน์ในเกาหลีใต้มีแค่ 3 ช่องหลักได้แก่ KBS, SBS และ MBC ทุนสร้างซีรีส์ต่อตอนในเวลานั้นอยู่ที่ประมาณ 36.5 ล้านวอน (ประมาณ 1 ล้านบาท) อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปจนถึงปัจจุบัน ทุนสร้างซีรีส์ต่อ 1 ตอน สามารถพุ่งสูงไปถึง 700 ล้านวอน (ประมาณ 19 ล้านบาท)



เมื่อปี 2000 ฉากในซีรีส์เกาหลีไม่ซับซ้อนเหมือนซีรีส์ในปัจจุบัน และมีแนวซีรีส์ไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นซีรีส์โรแมนติก, ซีรีส์ครอบครัว ส่วนซีรีส์ย้อนยุคที่มีน้อยเพราะใช้ทุนสูงกว่ามักจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ค่าตัวของนักแสดงคิดเป็น 10% ของทุนสร้างเท่านั้น การแข่งขันไม่สูง และการผลิตก็ทำแบบไม่ซับซ้อน อย่างไรก็ตามปัจจุบันนั้นแตกต่างออกไป ค่าตัวนักแสดงถือเป็นอัตราส่วนที่สูงที่สุดของงบในการผลิต ซีรีส์หลายเรื่องเลือกไปถ่ายทำในต่างประเทศ และใช้สเปเชียลเอฟเฟค สามารถออกอากาศได้ทางช่องทางที่หลากหลายขึ้น ทำให้มีจำนวนซีรีส์มากขึ้นควบคู่ไปกับจำนวนผู้ชมจากต่างประเทศที่มากขึ้นด้วย

ทุนในการผลิตซีรีส์ต่อตอนเฉลี่ยแล้วมากกว่า 100 ล้านวอน (ประมาณ 2.7 ล้านบาท) ในปี 2008 แต่หลังจากช่องเคเบิ้ลอย่าง tvN, JTBC และ OCN เข้ามาแข่งขันในวงการนี้ด้วย และเป็นผู้เล่นหลักในปี 2015 ทุนในการสร้างซีรีส์ก็เพิ่มสูงขึ้นไปถึง 400 ล้านวอน (ประมาณ 11 ล้านบาท)

ยิ่งแข่งขันมาก ราคาที่ต้องทุ่มก็สูงขึ้น อย่างเรื่อง Mr. Sunshine ของช่อง tvN เมื่อปี 2018 ใช้ทุนสร้างถึง 1.67 พันล้านวอนต่อตอน (ประมาณ 46 ล้านบาท)

Mr. Sunshine ปล่อยสู่สายตาผู้ชมทั่วโลกผ่านทาง Netflix จากนั้นกระแสซีรีส์เกาหลีก็พุ่งสูงขึ้น ในปีต่อมา Netflix ได้ส่งผลงาน Original Netflix ซีรีส์เกาหลีเรื่องแรก Kingdom ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากลงจอ โดยซีรีส์ย้อนยุคระทึกขวัญเรื่องนี้ใช้ทุนสร้างกว่า 2.2 พันล้านวอนต่อตอน (ประมาณ 61 ล้านบาท)

ความสำเร็จที่ได้รับ คุ้มค่าต่อการลงทุน Netflix เดินหน้าลงทุนในตลาดซีรีส์เกาหลี และเรื่อง The Arthdal Chronicles ของช่อง tvN ทำลายสถิติทุนสร้างต่อตอนอีกครั้งที่ 3 พันล้านวอนต่อตอน (ประมาณ 83 ล้านบาท) เช่นเดียวกับเรื่อง Sweet Home ที่ใช้งบสร้างใกล้เคียงกัน

อย่างไรก็ตามดูเหมือนการทุ่มลงทุนในอุตสาหกรรมซีรีส์เกาหลีของ Netflix จะไม่หยุดลงแค่นี้ เพราะ Netflix ได้ลงทุนในซีรีส์ย้อนยุคอาชญากรรม Suriname โดยผู้กำกับ ยุนจงบิน ที่มีข่าวมาว่าใช้ทุนสร้างต่อตอนถึง 5.8 พันล้านวอนสำหรับซีรีส์เรื่องนี้ (ประมาณ 162 ล้านบาท) ถือเป็นเงินลงทุนที่มากกว่าทุนสร้างซีรีส์เมื่อ 21 ปีก่อนถึง 160 เท่า

ความต้องการในตลาดระดับโลก ทำให้แพลตฟอร์มให้บริการด้านสื่อบันเทิงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ผู้คนคาดหวังที่จะได้รับชมผลงานที่มีคุณภาพ, เทคนิคที่น่าประทับใจ และความสร้างสรรค์

ก่อนหน้านี้อาจมีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคุณภาพงานซีรีส์และภาพยนตร์ของเกาหลี แต่ไม่ใช่สำหรับปัจจุบันที่ซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องสามารถสร้างบรรยากาศให้เหมือนกับกำลังรับชมภาพยนตร์เรื่องหนึ่งได้ และนี่คือผลของการลงทุนจำนวนมาก ที่ทำให้สื่อบันเทิงเกาหลีเข้าถึงใจคนทั่วโลกได้

ควบคู่ไปกับทุนสร้างมหาศาล สัญญาจ้างที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้คนสามารถทำงานในอุตสาหกรรมซีรีส์นี้ได้อย่างเป็นธรรมก็ได้ถูกออกแบบด้วยเช่นกัน หลังจากที่กฎหมายคล้ายกันนี้ถูกบังคับใช้ในอุตสากรรมภาพยนตร์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การทำงานภายใต้แรงกดดัน ทำให้ทีมงานกองถ่ายมักเจอกับปัญหาทรมาณจากความเหน็ดเหนื่อยและสภาพจิตใจ จนบางครั้งนำไปสู่ความเสียหายถึงขั้นเสียชีวิต

ยกตัวอย่างเช่นผู้ช่วยโปรดิวเซอร์ของเรื่อง Drinking Solo ของช่อง tvN ที่ฆ่าตัวตาย โดยมีข้อความในจดหมายลาตายว่าเกิดจากบรรยากาศในการทำงาน และสมาชิกในทีมอุปกรณ์ประกอบฉากของเรื่อง Kingdom ที่เสียชีวิตจากอาการหลอดเลือดโป่งพองจากการทำงานหนักเกินไป

การพูดคุยเกี่ยวกับมาตรฐานในการทำงานเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2019 และมีการกำหนดว่า ชั่วโมงการทำงานสูงสุดต่อสัปดาห์ต้องไม่เกิด 52 ชั่วโมง แต่ในทางปฏิบัตินั้นยากที่จะทำตามได้อย่างเต็มที่ หากซีรีส์ต้องปรับเวลาถ่ายทำตามกฎ นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายในการถ่ายทำที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

และยิ่งมีคู่แข่งแพลตฟอร์มที่ให้บริการสื่อบันเทิงมากขึ้น ทั้ง Disney, Apple TV+ และ Coupang Play ยิ่งคาดการณ์ได้เลยว่าในอนาคตทุนสร้างซีรีส์จะสูงขึ้นอีกแน่นอน แล้วมันจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมซีรีส์เกาหลีอย่างไรในอนาคต?

ตอนนี้ช่องเคเบิ้ลที่มีความมั่นคงและผลงานโดดเด่นอย่าง JTBC และ tvN ได้เริ่มทำสัญญาร่วมทุนผลิตกับแพลตฟอร์มที่มีทุนหนาอย่าง Netflix แต่ช่องสาธารณะเกาหลีซึ่งเป็นผู้บุกเบิกวงการซีรีส์เกาหลีกลับกำลังพบกับความยากลำบากในจุดนี้


เมื่อปีที่แล้วช่อง KBS, SBS และ MBC ผลิตซีรีส์ 16, 13 และ 11 เรื่องตามลำดับ แต่ในปีนี้มีการปรับลดลงมาเหลือแค่ประมาณ 6-10 เรื่อง ช่องพบว่าได้กำไรจากรายการเรียลลิตี้ที่ทุนสร้างน้อยกว่า งบประมาณต่อตอนอยู่ที่ประมาณ 120 ล้านวอน (ประมาณ 3.3 ล้านบาท) ในขณะที่งบสร้างซีรีส์ต่อตอนดูเหมือนจะสูงขึ้นเรื่อยๆ

ถึงแม้จะไม่มีช่องออกอากาศ แต่ดูเหมือนปริมาณคอนเท้นท์ไม่ลดลงเลย แต่หากทุนสร้างดำเนินไปถึงจุดที่ช่องสาธารณะในประเทศไม่สามารถรับมือได้ จะเกิดอะไรขึ้น? หากวันหนึ่งกระแสซีรีส์เกาหลีลดลง และผู้ลงทุนซึ่งเป็นบริษัทแพลตฟอร์มซึ่งไม่มีข้อผูกพันกับตลาดถอนตัว ทุนสร้างที่สูงเกินไปในเวลานั้นอาจทำลายอุตสาหกรรมได้

อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้กระแสซีรีส์เกาหลียังคงพุ่งสูงแบบฉุดไม่อยู่ ทุนสร้างก็ยังพุ่งสูงไปพร้อมกับกระแสจนคาดไม่ถึงว่าจะไปหยุดที่ใด

onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X