ปัจจัยเรื่องอาหารกับความเจ็บป่วย
2014-09-27 18:49:51
Advertisement
คลิก!!!

ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมอาการต่างๆที่สัมพันธ์กับอาหารที่คุณรับประทานเข้าไปตลอดจนพฤติกรรม การรับประทานอาหารของตัวคุณเอง ว่าส่งผลอย่างไรต่อร่างกายคุณ เริ่มต้นด้วย

•  อาการอ่อนเพลียแบบคนไม่มีเรี่ยวมีแรง 
ปัญหาข้อนี้มีสาเหตุมาจากการทานอาหารที่มีแคลอรี่น้อยเกินกว่าที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน จริงๆแล้วหลัก การก็ไม่มีอะไรมากนัก เพียงแค่ว่า อาหารที่ทานเข้าไปนั้นก็จะกลายเป็นพลังงานสำหรับกิจกรรมของคุณตลอดวัน หากร่างกายรับอาหารไม่เพียงพอ ระบบต่างๆก็จะทำงานอย่างแปรปรวน กลไกของร่างกายก็จะเริ่มตอบสนองเพื่อให้ได้พลังงานมาชดเชย โดยร่างกายจะสลายเซลล์กล้ามเนื้อให้กลายเป็นพลังงาน ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้คุณนั้นรู้สึกอ่อนเพลีย ดังนั้นในกรณีนี้คุณจึงควรรับประทานอาหารให้ได้ประมาณ 1800-2400 กิโลแคลอรี่ / วัน โดยปริมาณนั้นจะขึ้นกับ น้ำหนักตัว ความสูง และกิจกรรมของคุณว่ามีมากน้อยเพียงใด และสำหรับสาวๆที่อยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนักนั้นก็ควรพึงระลึกไว้ว่า ไม่ว่าคุณนั้นตั้งใจว่าจะลดน้ำหนักลงเพียงใด คุณสาวๆก็ควรทานอาหารให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1200 กิโลแคลอรี่ / วัน เพื่อป้องกันอาการอ่อนเพลีย 

•  อารมณ์หงุดหงิดขึ้นๆลงๆทั้งวัน หรืออารมณ์ซึมเศร้า 
อาการนี้มีสาเหตุมาจาก อาหารที่คุณทานเข้าไปนั้น เป็นพวกอาหารโปรตีนสูงแต่คาร์โบไฮเดรตต่ำ ทั้งนี้เป็น เพราะการทานอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตที่ต่ำกว่า 50 กรัม / วัน อาจจะสัมพันธ์กับปริมาณการหลั่งสารสื่อประสาทที่ชื่อ เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้สมองแจ่มใสและเบิกบาน ดังนั้นหากจะอธิบายกันง่ายๆก็คือ ยามที่คุณทานอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตในปริมาณเหมาะสม สมองก็จะหลั่งสารเซโรโทนิน ที่ทำให้คุณรู้สึกสบายอกสบายใจและอารมณ์ดีไปทั้งวันเลย ดังนั้นเราจึงแนะนำให้คุณทานอาหารคาร์โบไฮเดรตที่เป็นชนิดเชิงซ้อน ซึ่งพบได้ใน ข้าวไม่ขัดสี ผักต่างๆ และเส้นจำพวกพาสตาที่ได้มากจากเมล็ดพืช ให้สมดุลกับปริมาณโปรตีนและไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่พบได้ใน ปลาทะเลหรือน้ำมันจากปลาทะเล น้ำมันมะกอก และถั่วต่างๆ 


•  อาการปวดศีรษะ หรือปวดไมเกรน 
อาการเหล่านี้แท้จริงแล้วถือว่า อาหารบางชนิดเป็นปัจจัยหลักที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ชีส เนื้อสัตว์ ช็อกโกแลต ถั่วต่างๆ วิธีการที่เราแนะนำคือ คุณจะต้องจดจำไว้ว่า อาหารประเภทใดที่สัมพันธ์กับอาการปวดนั้นๆ โดยเมื่อใดก็ตามที่คุณมีอาการปวด คุณต้องบันทึกอาหารทุกชนิดที่คุณทานเข้าไปแล้วลองมาดูว่าสิ่งที่บันทึกนั้นตรงกับอาหารที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้นหรือไม่ เพื่อจะทำให้คุณมั่นใจถึงสาเหตุที่ทำให้คุณปวดศีรษะและหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นในครั้งหน้า และหากการปวดนั้นรุนแรงมากและไม่สามารถควบคุมได้ คุณควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญต่อไป

ที่มา  http://siamdara.com/

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X