"โยเกิร์ต" อาหารยืดอายุ
2014-09-21 19:25:27
Advertisement
คลิก!!!

ระบบลำไส้ของคนเรามีเชื้อจุลินทรีย์อยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดดี และชนิดไม่ดี หากในลำไส้มีจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีเยอะ ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายจะมีปัญหา เช่น ท้องเสีย ท้องผูก อาหารไม่ย่อย แต่ถ้าเรามีจุลินทรีย์ชนิดดีอยู่ มันจะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีและเพิ่มภูมิต้านทานให้ระบบย่อย จุลินทรีย์ชนิดดีสามารถย่อยน้ำตาลในนมได้ คนที่แพ้นมเพราะขาดเอนไซม์แลคโตสจึงหมดปัญหาท้องเสียหรือปวดท้องเมื่อกินโยเกิร์ต เพราะน้ำตาลแลคโตสในนมถูกเชื้อแลคโตบาซิลัสเปลี่ยนเป็นกรดแลคติกที่ย่อยง่าย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยระบุว่า จุลินทรีย์ชนิดดีป้องกันการติดเชื้อ คนที่ถ่ายท้องจึงกินโยเกิร์ตเพื่อช่วยลดอาการท้องเดินได้

 

11 สารอาหารในโยเกิร์ต


การกินโยเกิร์ตให้โปรตีนและแคลเซียมปริมาณสูงกว่านม เพราะกรดแลคติกในโยเกิร์ตจะย่อยแคลเซียมในนม ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมของวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

 

ในโยเกิร์ตชนิดไขมันต่ำ 1 ถ้วย มีสารอาหารมากถึง 11 ชนิด ได้แก่ ไอโอดีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 2 โปรตีน วิตามิน บี 12 ทริปโทฟาน โปตัสเซียม โมลิปเดนัม สังกะสี วิตามิน บี 5  จึงไม่น่าแปลกใจที่โยเกิร์ตจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ชาวบัลแกเรียอายุยืน และจากผลวิจัยยังพบอีกว่าโยเกิร์ตมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

 

- โยเกิร์ตมีแคลเซียมสูง และแคลเซียมมีบทบาทในการป้องกันโรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง มะเร็งในลำไส้ใหญ่ ช่วยในการลดน้ำหนัก เพิ่มการเผาผลาญไขมัน 


- เชื้อแลคโตแบซิลลัสในโยเกิร์ตช่วยลดการอักเสบของลำไส้และไขข้อ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเชื้อ- จุลินทรีย์ที่ดีในโยเกิร์ตช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ “เฮลิโคแบคเตอร์ เอชไพโลไร” ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ 


- กรดไขมันคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิคในโยเกิร์ต ป้องกันโรคหัวใจได้ 


งานวิจัยยังพบว่าโยเกิร์ตวันละ 2- 5 ถ้วย ช่วยลดระดับ “แกซไฮโดรเจนซัลไฟด์” ที่ทำให้ลมหายใจมีกลิ่น และลดความเสี่ยงโรคเหงือก  

โยเกิร์ตมีแบคทีเรียที่มีชีวิต ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินบี และวิตามินเคในลำไส้ จากงานวิจัยพบว่า การบริโภคโยเกิร์ตที่มีแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 


ผู้หญิงที่ติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดบ่อยๆ เมื่อกินโยเกิร์ตวันละ 8 ออนซ์ เป็นเวลา 6 เดือน การติดเชื้อจะลดลงถึง 3 เท่า

กินอย่างไรให้อายุยืน โยเกิร์ตรสชาติดั้งเดิมของชาวบัลแกเรียไม่ใส่น้ำตาล และมีรสชาติเปรี้ยว แต่ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดจะมีรสหวาน เนื่องจากผสมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมลงไปด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานแนะนำให้กินรสธรรมชาติ (ไม่มีน้ำตาล ผลไม้เชื่อมหรือน้ำเชื่อมผสม) กับผลไม้สด หรือนำโยเกิร์ตมาปั่นรวมกับผลไม้และนม จะได้อาหารที่มีพลังงานเพียงพอถึงเที่ยง และถ้านำมาดัดแปลงใช้แทนมายองเนสในการทำน้ำสลัดหรือผสมทำไส้แซนด์วิชจะได้อาหารที่ชูสุภาพทีเดียว

 

ทำโยเกิร์ตด้วยตัวเอง


นำนมสดรสจืด 1 ลิตร ต้มด้วยไฟปานกลาง (ในภาชนะที่ล้างสะอาดและเช็ดให้แห้ง) พอเดือดอ่อนๆ ทิ้งไว้จนนมลดอุณหภูมิลงเหลือประมาณ 40 องศาเซลเซียส เติมโยเกิร์ตรสธรรมชาติลงไป ประมาณ 1 ถ้วย คนให้เข้ากัน แล้วเทแบ่งใส่ภาชนะที่มีฝาปิด วางทิ้งไว้นอกตู้เย็น 1 คืน ลองชิมดู ถ้ายังไม่เปรี้ยว อาจทิ้งไว้อีกประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือจนได้รสที่ต้องการ จึงนำเข้าแช่ตู้เย็น เวลาจะกินใส่ผลไม้ หรือธัญพืชที่ชอบลงไป คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน โยเกิร์ตนี้เก็บไว้ในตู้เย็นได้ 2-3 วัน และเก็บไว้เป็นหัวเชื้อในครั้งต่อไปได้

 

 

ที่มา  http://siamdara.com/

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X