ครบจบ! ทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจตรวจ PGD
2023-06-28 19:18:21
Advertisement
คลิก!!!

              ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนภาวะความผิดปกติในร่างกาย อาจทำให้ใครหลายคนประสบเข้ากับปัญหาภาวะมีบุตรยาก ไปจนถึงมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีความผิดปกติสูง ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมลดความเสี่ยงที่บุตรจะเกิดมามีความผิดปกติ การตรวจ PGD ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งในผู้ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก ตลอดจนคู่สามีภรรยาที่ต้องการมีบุตรทั่วไป

แล้วการตรวจ PGD คืออะไร มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจมากแค่ไหน มาหาคำตอบได้ในบทความนี้กัน

 

การตรวจ PGD คืออะไร

              การตรวจ PGD หรือ Preimplantation Genetic Diagnosis คือ การตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสุขภาพและโครโมโซมของตัวอ่อนในครรภ์เพื่อหาความผิดปกติทางพันธุกรรม ตลอดจนโรคที่แฝงอยู่ในพันธุกรรมอย่างธาลัสซีเมีย โรคเลือดไม่หยุด ไปจนถึงโรคประสาทไขสันหลังเสื่อม

การตรวจสอบดังกล่าวนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและชีวิตของทารกที่เกิดมา ตลอดจนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของคุณแม่และการตั้งครรภ์ อีกทั้งยังช่วยให้ทราบถึงสุขภาพของตัวอ่อนภายในครรภ์อีกด้วย

 

ตรวจ PGD ได้เมื่อไหร่

              หลายคนอาจเข้าใจว่า การตรวจ PGD สามารถตรวจได้ตั้งแต่ตัวอ่อนเริ่มปฏิสนธิ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ตั้งครรภ์สามารถนำตัวอ่อนมาตรวจ Preimplantation Genetic Diagnosis ได้ใน 2 ช่วงเวลา คือ เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 3 วัน และ เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 5 วัน

              อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะตรวจ PGD ทุกครั้ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมของคุณพ่อและคุณแม่ก่อน ซึ่งจะตรวจถึงความผิดปกติแฝงและความผิดปกติที่เด่นชัด จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ถึงโอกาสที่ตัวอ่อนจะมีความผิดปกติในด้านต่าง ๆ

              หลังจากการตรวจ PGD แล้วพบว่า ตัวอ่อนมียีนที่ไม่ดี หรือ มียีนที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในอนาคต ทางแพทย์จะให้ปรึกษากับทางคุณพ่อและคุณแม่อีกครั้งเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป ซึ่งอาจทำได้ตั้งแต่การผสมตัวอ่อนใหม่ หรือ เสนอแผนการรักษาอื่น ๆ ต่อไป

 

ตรวจได้เฉพาะผู้ที่มีบุตรยากใช่หรือไม่?

              คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า การตรวจ PGD เป็นการตรวจสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก หรือ ผู้ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีพิเศษในการมีบุตรเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว คู่สามีภรรยาทั่วไปสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจสุขภาพร่างกายของตนเอง ตลอดจนความผิดปกติอื่น ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจมีลูกได้เช่นกัน ซึ่งการตรวจในส่วนนี้สามารถช่วยให้ทุกคนวางแผนการมีบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

              เท่านี้ ทุกคนก็เข้าใจถึงรายละเอียดและความจำเป็นของ PGD หรือ Preimplantation Genetic Diagnosis เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หวังว่ารายละเอียดที่นำมาฝากในบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าถึงความสำคัญของการตรวจ PGD มากขึ้นนะ

 

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X