เทียบ “อัตรารายได้” นักข่าว นสพ. หัวเล็ก..หัวใหญ่ ใครไส้แห้งที่สุด?
2012-08-06 10:24:47
Advertisement
คลิก!!!

 

รู้ไว้ใช่ว่า..?


ครั้งที่ 1 สำรวจเมื่อปลายปี 2552 เผยแพร่ในหนังสืองานวันนักข่าว เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2552

ครั้งที่ 2 สำรวจเมื่อปลายปี 2554 ตีพิมพ์ในจุลสาร “ราชดำเนิน” ฉบับที่ 22 ประจำเดือน ม.ค.2555

ทั้ง 2 ครั้งมีการแจกแจงรายได้ต่อเดือน ของผู้สื่อข่าวภาคสนาม เน้นไปที่รายได้ประจำ ทั้งเงินเดือน, ค่าเดินทาง และค่าโทรศัพท์ (ส่วนรายได้ไม่ประจำ อาทิ ค่าทำงานล่วงเวลา, เบี้ยทำงานต่างจังหวัด, เบี้ยทำงานต่างประเทศ ฯลฯ ไม่ได้รวมอยู่ในการสำรวจดังกล่าว) โดยการสำรวจครั้งที่ 1 ได้ยังสอบถามถึง “โบนัส” ของแต่ละสำนักด้วย

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งที่ 1 (จากองค์กรสื่อ 11 สำนัก แบ่งเป็น นสพ. 10 ฉบับและทีวี 1 ช่อง) เรียงจากลำดับรายได้มากไปหาน้อย มีดังต่อไปนี้

1.นสพ.บางกอกโพสต์ มีรายได้รวม 19,500-20,500 บาท (เงินเดือน 12,000 บาท/ค่าเดินทาง 5,000-6,000 บาท(ปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน)/ค่าโทรศัพท์ 2,500 บาท) ได้โบนัสครึ่งเท่าของเงินเดือน 

2.นสพ.โพสต์ทูเดย์ มีรายได้รวม 16,630-17,630 บาท (เงินเดือน 10,000-11,000 บาท/ค่าเดินทาง 5,000-6,000 บาท (ปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน)/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์ของบริษัทวงเงินไม่เกิน 630 บาท) ได้โบนัสครึ่งเท่าของเงินเดือน 

3.สำนักข่าวเนชั่น มีรายได้รวม 16,090-17,090 บาท (เงินเดือน 10,000 บาท/ค่าเดินทาง 5,590 บาท/ค่าโทรศัพท์ 1,000-2,000 บาท) ได้โบนัสครึ่งเท่าของเงินเดือน

4.นสพ.มติชน มีรายได้รวม 16,000 บาท (เงินเดือน 10,000 บาท/ค่าเดินทาง 3,000 บาท(บวกค่าเวร 2,000 บาท)/ค่าโทรศัพท์ 1,500 บาท) ได้โบนัส 4 เท่าของเดือน (แบ่งจ่าย 2 ครั้งต่อปี )

5.นสพ.เดลินิวส์ มีรายได้รวม 12,200-13,200 บาท (เงินเดือน 11,000-12,000 บาท/ค่าเดินทาง มีรถยนต์รับส่ง(เบิกค่ารถได้)/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์ของบริษัท วงเงินไม่เกิน 1,200 บาท) ได้โบนัส 1 เท่าของเงินเดือน และได้รับจัดสรรสวัสดิการ 1.5 เท่าของเงินเดือนจ่ายปีละ 2 ครั้ง 

6.นสพ.ไทยรัฐ มีรายได้รวม 13,000 บาท (เงินเดือน 12,000 บาท/ค่าเดินทาง มีรถยนต์รับส่ง(เบิกค่ารถได้)/ค่าโทรศัพท์ 1,000 บาท) ได้โบนัส 6 เท่าของเงินเดือน กรณีที่ทำงาน 5 ปีขึ้นไป 

7.สำนักข่าวไทย หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี มีรายได้รวม 12,900 บาท (เงินเดือน 12,000 บาท/ค่าเดินทาง มีรถยนต์ออกจากสถานี/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์ของบริษัทวเงินไม่เกิน 2,000 บาท) ได้รับโบนัส 4.8 เท่าของเงินเดือน 

8.นสพ.ไทยโพสต์ มีรายได้รวม 11,000 บาท (เงินเดือน 10,000 บาท/ค่าเดินทาง เบิกตามจริง/ค่าโทรศัพท์ 1,000 บาท) ได้โบนัสครึ่งเท่าของเงินเดือน)

9.นสพ.บ้านเมือง มีรายได้รวม 10,900 บาท (เงินเดือน 8,000 บาท/ค่าเดินทาง 2,000 บาท/ค่าโทรศัพท์ 900 บาท) ไม่มีโบนัส 

10.นสพ.แนวหน้า มีรายได้รวม 9,550 บาท (เงินเดือน 6,000 บาท/ค่าเดินทาง 2,000 (บวกค่าเวร 1,000 บาท)/ค่าโทรศัพท์ 550 บาท) ไม่มีโบนัส 

11.นสพ.สยามรัฐ มีรายได้รวม 8,500 บาท (เงินเดือน 8,500 บาท/ค่าเดินทาง เบิกตามจริง/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์จากบริษัท) ไม่มีโบนัส 

 

 

ส่วน ในปี 2554 มีการสำรวจจากผู้สื่อข่าวภาคสนาม จากองค์กรสื่อเพิ่มเติมเป็น 12 สำนัก แบ่งเป็นนสพ. 12 ฉบับ (เพิ่มเติม นสพ.เอเอสทีวีผู้จัดการ นสพ.ข่าวสดและ นสพ.ประชาชาติธุรกิจ) แต่ไม่มีจากทีวี (สำนักข่าวไทย หรือโมเดิร์นไนน์ทีวีหายไป) และครั้งนี้ไม่มีการสอบถามเรื่อง “โบนัส”

ซึ่งผลปรากฏว่า เวลาผ่านไป 2 ปี รายได้ของผู้สื่อข่าวภาคสนามแต่ละสำนัก มีทั้งที่ปรับตัว “ขึ้น” และ “ลง” ดังข้อมูลต่อไปนี้

1.นสพ.บางกอกโพสต์ (ไม่ได้สำรวจ)

2.นสพ.โพสต์ทูเดย์ มีรายได้รวม 21,290-22,290 บาท (เงินเดือน 12,500 บาท/ค่าเดินทาง 7,500-8,500 บาท (ปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน)/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์ของบริษัทวงเงินไม่เกิน 1,290 บาท)

3.สำนักข่าวเนชั่น มีรายได้รวม 19,500 บาท (เงินเดือน 12,500 บาท/ค่าเดินทาง 4,800 (ปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน) บาท/ค่าโทรศัพท์ 2,200 บาท)

4.นสพ.มติชน มีรายได้รวม 16,500 บาท (เงินเดือน 10,000 บาท/ค่าเดินทาง 5,000 บาท/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์ของบริษัท วงเงินไม่เกิน 1,500 บาท)

5.นสพ.เดลินิวส์ มีรายได้รวม 11,700 บาท (เงินเดือน 11,000 บาท/ค่าเดินทาง มีรถยนต์รับส่ง(เบิกค่ารถได้)/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์ของบริษัท วงเงินไม่เกิน 700 บาท)

6.นสพ.ไทยรัฐ มีรายได้รวม 14,000 บาท (เงินเดือน 12,000 บาท/ค่าเดินทาง มีรถยนต์รับส่ง(เบิกค่ารถได้)/ค่าโทรศัพท์ 2,000 บาท)

7.สำนักข่าวไทย หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี (ไม่ได้สำรวจ)

8.นสพ.ไทยโพสต์ มีรายได้รวม 10,500 บาท (เงินเดือน 9,500 บาท/ค่าเดินทาง เบิกตามจริง/ค่าโทรศัพท์ 1,000 บาท)

9.นสพ.บ้านเมือง มีรายได้รวม 9,200 บาท (เงินเดือน 6,400 บาท/ค่าเดินทาง 2,000 บาท/ค่าโทรศัพท์ 800 บาท)

10.นสพ.แนวหน้า มีรายได้รวม 8,500 บาท (เงินเดือน 6,000 บาท/ค่าเดินทาง 2,000 /ค่าโทรศัพท์ 500 บาท)

11.นสพ.สยามรัฐ มีรายได้รวม 8,500 บาท (เงินเดือน 8,500 บาท/ค่าเดินทาง เบิกตามจริง/ค่าโทรศัพท์ ไม่มี)

ส่วนที่สำรวจเพิ่มเติม

12.นสพ.เอเอสทีวีผู้จัดการ มีรายได้รวม 11,300 บาท (เงินเดือน 8,000 บาท/ค่าเดินทาง 2,500 บาท/ค่าโทรศัพท์ 800 บาท)

13.นสพ.ข่าวสด มีรายได้รวม 16,500 บาท (เงินเดือน 10,000 บาท/ค่าเดินทาง 5,000 บาท/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์ของบริษัท วงเงินไม่เกิน 1,500 บาท)

14.นสพ.ประชาชาติธุรกิจ มีรายได้รวม 16,200 บาท (เงินเดือน 10,000 บาท/ค่าเดินทาง 5,000 บาท/ค่าโทรศัพท์ ใช้เครื่องและเบอร์ของบริษัท วงเงินไม่เกิน 1,200 บาท)

แม้การสำรวจทั้ง 2 ครั้ง จะมีการเขียนหมายเหตุเอาไว้ว่า “ข้อมูลดังกล่าวอาจไม่สะท้อนรายได้ของผู้สื่อข่าวภาคสนามทั้งหมด เพราะกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สื่อข่าวภาคสนาม สายการเมือง” รวมถึงยังไม่มีการคำนวณค่าประสบการณ์ และวงรอบในการขึ้นอัตราเงินเดือนของแต่ละองค์กรซึ่งไม่เท่ากัน

แต่อย่างน้อยก็ทำให้พอรู้ “อัตรารายได้” เบื้องต้น ของผู้สื่อข่าวภาคสนามโดยเฉพาะของสื่อสิ่งพิมพ์ไทย เพราะผู้สื่อข่าวภาคสนาม สายอื่นๆ ในองค์กรเดียวกันไม่น่าจะให้รายได้ในเรตที่ต่างกันมากนัก

เมื่อเห็น “ค่าตอบแทน” ที่องค์กรสื่อให้กับพนักงานของตัวเองเช่นนี้แล้ว แม้ไม่ถึงกับ “ไส้แห้ง” ไปเสียทุกคน แต่ไม่น่าแปลกใจว่า เวลานิสิตนักศึกษาจบใหม่คนใด ต้องการจะมาเป็นผู้สื่อข่าวภาคสนาม (ไม่รวมพิธีกร, ผู้ประกาศข่าว, นักเล่าข่าว ที่ยังไม่มีการสำรวจ) มักจะถูกเตือนด้วยถ้อยคำคล้ายๆ กันว่า 


...“ระวัง! อาจจะต้องกินอุดมการณ์แทนข้าว” !!!

ขอบคุณแหล่งที่มาครับ 

 

cr.http://www.isranews.org/

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X