ถึงคุณไบโพลาร์ (Bipolar) ที่รัก / ดร.แพง ชินพงศ์
2015-06-15 14:21:27
Advertisement
คลิก!!!

        “ไบโพลาร์” เป็นโรคจิตประเภทหนึ่ง อยู่ในกลุ่มของความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ซึ่งอาการของไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) จะมีลักษณะที่เด่นชัด คือ มีอารมณ์แบบสองอารมณ์อยู่ร่วมกัน คือ อารมณ์แบบซึมเศร้า หรือที่เรียกว่า Depression กับอีกอารมณ์ที่เรียกว่า คึกคักมากเกินไป หรือที่เรียกว่า Mania กล่าวคือมีลักษณะของอารมณ์แปรปรวนสองขั้วนั่นเอง
       
       สาเหตุของโรคเกิดจาก
       
       1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดขึ้นเพียง 15-30% แต่ผู้ป่วยที่มีญาติพี่น้องเป็นไบโพลาร์จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นไบโพลาร์สูงกว่าคนปกติ และมักพบอาการในวัยกลางคนประมาณ 40 ปี หรือบางรายอาจมีอาการตอนอายุน้อยกว่า 20 ปีก็เป็นได้เช่นกัน
       
       2. ความผิดปกติของสารสื่อประสาททางสมอง ระดับฮอร์โมนในร่างกาย ความผิดปกติของการทำงานของสมองในส่วนควบคุมอารมณ์
       
       3. จิตสังคม คือไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม มีความเครียดสูงจึงส่งผลกับทางอารมณ์ได้ แม้ปัจจัยทางสังคมไม่ใช่สาเหตุของโรคโดยตรง แต่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น
       
       ลักษณะอาการของไบโพลาร์หรือการมีอารมณ์สองขั้ว
       
       - ในช่วงซึมเศร้า (Depression) จะมีความรู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกอยากฆ่าตัวตายถึง 15-20% มีความรู้สึกสิ้นหวัง มักทะเลาะกับคนใกล้ชิดเพราะคิดว่าไม่มีคนเข้าใจ อารมณ์อ่อนไหวง่าย สามารถนั่งหรือนอนนิ่งๆ โดยไม่ทำอะไรเลยเป็นเวลานานๆ
       
       - ในช่วงคึกคัก อารมณ์ดีผิดปกติ (Mania) ช่างพูดช่างคุย ตัดสินใจทำอะไรแบบปุบปับ ไม่อยู่กับร่องกับรอย หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว ขี้อิจฉา ชอบเป็นจุดเด่น สนใจแต่ตัวเอง ชอบใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ขยัน กระฉับกระเฉงตลอดเวลา พูดจาลื่นไหล คล่องแคล่ว มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีอารมณ์ทางเพศสูง มักมีอาการนอนไม่หลับ สลับกับอารมณ์เศร้า รู้สึกตัวว่าไม่มีค่า อยากฆ่าตัวตาย สลับอารมณ์ไปมา บางรายร้องไห้สลับกับหัวเราะ ซึ่งอาการนี้จะกระทบกับหน้าที่การงานและคนรอบข้าง โดยจะมีอาการติดต่อกันอย่างน้อยประมาณ4วัน แต่ในบางรายหากไม่แสดงอาการมากอาจจะหายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และกลับเป็นซ้ำอีก ทำให้ผู้ใกล้ชิดไม่สามารถสังเกตได้ว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ
       
       คนที่ป่วยเป็นไบโพลาร์มักจะปรากฏอาการมากขึ้นเมื่อเกิดความผิดหวังในชีวิตที่กระทบจิตใจ ซึ่งอาจทำให้มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
       
       1. หนี - กลบเกลื่อน เพราะอยากลบภาพความล้มเหลวของตนเอง โดยการย้ายที่อยู่ เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์/อีเมล/ไลน์/ไอจี/เฟซบุ๊ก/ทวิตเตอร์ (ส่วนใหญ่คนเป็นไบโพลาร์จะมีประวัติเปลี่ยนมากกว่า 2 อย่างตามที่กล่าวมา) บางคนหนีจากครอบครัว บางคนเลิกคบกับเพื่อนที่สนิทหรือเลิกกับแฟน เพราะอยากเปลี่ยนชีวิตใหม่ เพื่อเบี่ยงเบนความผิดหวังของตนโดยหันไปโทษอย่างอื่นแทนว่าที่ชีวิตตนเองเป็นแบบนี้เพราะอกหัก เพราะโดนคนทำร้าย เพราะโดนกลั่นแกล้ง ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของตนเอง
       
       2. สร้างภาพ - สร้างตัวตนใหม่ เพื่อกลบเกลื่อนเรียกร้องความสนใจ มักจะแสดงออกในการหลอกตัวเองสร้างตัวตนแบบผิดๆ เช่น ถ่ายภาพโป๊หรือวับๆ แวมๆ ของตนเองลงตามสื่อต่างๆ ลงรูปหรือเรื่องราวอวดว่าตนเองหรูอยู่สุขสบาย บางคนอาจไปทำศัลยกรรมเพื่อเปลี่ยนใบหน้าตนเองไปจากเดิม ทั้งหมดที่กระทำไปเพราะอยากหนีชีวิตเก่าๆ และลืมตัวตนเก่าเพื่ออยู่กับตัวตนใหม่ที่สร้างขึ้น
       
       3. มีอารมณ์แปรปรวน เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา มักทำเรื่องปกติง่ายๆให้กลายเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน เช่น เรื่องของกิจวัตรประจำวัน เรื่องการนัดหมาย เพราะเกิดจากจิตสำนึกที่ไม่สามารถควบคุมสิ่งรอบตัวและตัวเองได้ แต่ตนเองต้องการจะควบคุมจัดการทุกสิ่งทุกอย่าง จึงกลายเป็นสร้างสถานการณ์และสร้างเรื่องปวดหัวให้กับผู้คนรอบข้างอยู่ตลอดเวลาการช่วยเหลือคนที่ป่วยเป็นไบโพลาร์
       
       หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว ควรแนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง หากปล่อยอาการไว้โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าจะเป็นอันตรายมาก เพราะคนที่เป็นไบโพลาร์อาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ โดยการรักษาควรประกอบด้วยการใช้ยาและการดูแลด้านจิตใจ แต่ยังไม่มียารักษาอาการเศร้าตัวใดได้รับการรับรองในการรักษาภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพลาร์ได้ ดังนั้น ผู้ที่ใกล้ชิดควรมีความเมตตา ความเข้าใจและความอดทน โดยระลึกไว้เสมอว่าผู้ป่วยไบโพลาร์ไม่ใช่คนนิสัยไม่ดี แต่เป็นเพราะอาการป่วยจึงทำให้เขาเป็นคนเช่นนี้ ซึ่งคนที่เป็นไบโพลาร์จะมีพื้นฐานเป็นคนที่หมกมุ่นคิดถึงแต่ตัวเองเท่านั้น จึงทำให้มีความเห็นแก่ตัวอยู่มากและยากที่จะรักใคร ดังนั้น บุคคลใกล้ชิดต้องให้อภัยอย่าไปถือสาให้ต้องเจ็บปวดหัวใจเลย เพื่อให้โอกาสผู้ป่วยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตเป็นปกติได้อีกครั้งหนึ่ง

 
ขอขอบคุณที่มา  http://www.manager.co.th/
 
 
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X