"ธาตุเหล็ก" บำรุงเลือด
2014-10-11 18:31:09
Advertisement
คลิก!!!

 

การบริจาคโลหิต 
เป็นการนำโลหิตออกจากร่างกายโดยเจาะออกทางเส้นโลหิตดำครั้งหนึ่ง ๆ ประมาณ 350-450 ซี.ซี. การนำโลหิตออกจากร่างกายในปริมาณดังกล่าวไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายใด ๆ แถมยังช่วยกระตุ้นให้ไขกระดูกทำงานได้ดีขึ้น ในทำนองเดียวกับการออกกำลังกายที่ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อแขนขาดีขึ้น ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น แต่ทั้งนี้หมายถึงการบริจาคโลหิต ที่ไม่บ่อยเกินเกณฑ์กำหนด คือ ทุก 3 เดือน และรักษาสมดุลให้อัตราการสร้างใหม่ทดแทนเท่ากับที่เสียไป โดยเฉพาะวัตถุดิบ คือ ธาตุเหล็ก มิฉะนั้น อาจเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้
 

โลหิตจาง จากภาวะขาดธาตุเหล็ก 
เมื่อร่างกายต้องสูญเสียโลหิตไปเป็นปริมาณมาก ๆ เช่น ผ่าตัดใหญ่ คลอดบุตร ได้รับอุบัติเหตุเสียโลหิตมาก สตรีมีประจำเดือนที่มากผิดปกติ รวมไปถึงการบริจาคโลหิต แผลในกระเพาะอาหารมีโลหิตออก ริดสีดวงทวารที่มีโลหิตออกเรื้อรังหรือมีพยาธิปากขอในลำไส้ เป็นต้น ในภาวะเหล่านี้ร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไขจะนำไปสู่การเกิดภาวะโลหิตจางจากการสูญเสียธาตุเหล็ก 

อาหารที่มีธาตุเหล็ก 
โดยปกติร่างกายได้รับธาตุเหล็กทางเดียวเท่านั้นคือ จากอาหารที่รับประทาน โดยลำไส้จะดูดซึมธาตุเหล็กได้ประมาณ 1 และ 1.5 มิลลิกรัม ในผู้ชายและผู้หญิง ตามลำดับ และจะดูดซึมได้เพิ่มขึ้นในภาวะร่างกาย
ขาดธาตุเหล็ก 

ธาตุเหล็กที่มีอยู่ในอาหารแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่พบอยู่ในสัตว์ เช่น เนื้อ เลือด เครื่องใน และไข่ และชนิดที่พบอยู่ใน พืช ผัก ผลไม้ ธัญชาติ (ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวฟ่าง ฯลฯ) และถั่วต่าง ๆ สารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาทิ ผักใบเขียว ผักหวานสวน มะเขือพวง งาขาว งาดำ ซึ่งพืชผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายได้ดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ปริมาณธาตุเหล็กที่มีอยู่ในร่างกาย วัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต สตรีในช่วงมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ รวมถึงภาวะที่สูญเสียโลหิตและโลหิตจาง

ที่มา  http://siamdara.com/

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X