สช. ห่วงเด็กติดเกม เผยบางรายอึราดหน้าจอคอมฯ
2012-11-21 16:30:39
Advertisement
คลิก!!!

 


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          สช. ห่วงเด็กติดเกม เผยบางรายอึราดหน้าจอคอมพิวเตอร์ บางรายพ่อเด็กเปิดร้านเกม มีชุด ที่นอน หมอน พร้อมให้บริการด้วย แนะให้พ่อแม่ สร้างกติกาก่อนเด็กเล่นเกม

          วาน นี้ (20 พฤศจิกายน) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดเวทีเสวนา เจาะประเด็นในหัวข้อ "คุมเข้มเด็กเล่นเกม :ลิดรอนสิทธิ หรือ ช่วยสร้างสรรค์" โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เผยถึงสถิติของการติดเกมอย่างรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องว่า จากผลสำรวจในปี 2551 พบเด็กมีพฤติกรรมุรนแรง 5% , ปี 2552 พบเด็กมีพฤติกรรมุรนแรง 9% และปี 2554 ประมาณ 14.49% ทั้งนี้ จากตัวเลขดังกล่าว ตนเห็นว่าจำเป็นต้องมีการบำบัดรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม และปัญหาดังกล่าวก็เป็นปัญหาระดับโลก ไม่เฉพาะแค่ประเทศไทยเท่านั้น

          นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ตน เจอผู้ป่วยรายหนึ่ง เป็นชายอายุ 20 ตอนปลาย โดยคุณยายของเขาพามาพบจิตแพทย์ เพราะติดเกมขั้นรุนแรงถึงขนาดอึราดหน้าจอคอมพิวเตอร์ และเริ่มเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า ซึ่งคุณยายเล่าให้ฟังว่า ชายคนนั้นติดเกมตั้งแต่เด็ก จนไม่สามารถทำงานได้ต้องออกจากงานมาอยู่บ้าน และเล่นเกมตลอดเวลา ส่วนคุณยายก็ทำหน้าที่ส่งข้าวส่งน้ำให้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งล่าสุด ชายคนดังกล่าวก็อึราดคาที่นั่ง จนคุณยายทนไม่ไหวต้องพามาพบจิตแพทย์ แต่ด้านผู้ป่วยกลับไม่คิดว่าตัวเองป่วย จึงไม่ยอมเข้ารับการรักษา ทั้งนี้ อาการของชายดังกล่าวรุนแรงมาก และต้องใช้เวลานานในการรักษา

          ผอ.สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยัง มีข้อมูลจากครูที่ติดตามเด็กที่หายไปจากโรงเรียนราว 10 คน พบว่า พ่อของเพื่อนได้ดัดแปลงชั้นบนของบ้าน ให้กลายเป็นร้านเกมเถื่อนขนาดย่อม เพื่อให้เพื่อนของลูกใช้บริการ โดยมีบริการที่นอน หมอน และเสื้อผ้าให้เปลี่ยนด้วย ซึ่งตนไม่เข้าใจเลยว่าคุณพ่อคนนั้นทำอย่างนี้กับลูกคนอื่นได้อย่างไร
 
          หากผู้ปกครองท่านไหนอยากทราบว่าลูกของตนติดเกมหรือไม่ ให้ดูจากพฤติกรรมการเล่นเกม หากเด็กใช้เวลาในการเล่นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ติดต่อกันทุกวัน พ่อแม่ควรตระหนักได้ว่า ลูกเริ่มมีความผิดปกติ หรือผู้ปกครองอาจจะดาวน์โหลด แบบประเมินการติดเกมได้จาก เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต (www.dmh.go.th) ถ้าผลออกมาพบว่าลูกติดเกมก็ให้พาเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อรับการรักษา ส่วนการป้องกันนั้น ผู้ปกครองควรสอนเรื่องวินัย ไม่ควรใช้มาตรการรุนแรง เพราะไม่ได้ผล แต่ควรสร้างกติกา และสร้างเงื่อนไขให้ลูกเสมอ พร้อมต้องกำกับและติดตามด้วย
 
          ขณะ ที่ นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ประธานคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นการจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง กล่าวว่า การประชุม "สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5" ที่ผ่านมา มี มติสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อป้องกันปัญหา โดยเน้นการสร้างความแข็งแรงของครอบครัวและชุมนุม และเน้นความเข้มแข็งของธุรกิจไอที ด้วยการสร้างระบบป้องกันการเล่นเกมของเด็ก เช่น การลงทะเบียนเล่นด้วยบัตรประชาชน และจำกัดเวลาการเล่นต่อวันตามช่วงอายุ โดยมีผู้ดูแลร้านเกมสีขาว ผ่านการอบรมทำหน้าที่ควบคุมให้ปฏิบัติตามกฎและป้องกันเด็กถูกล่อลวง

          นพ.อดิศักดิ์  กล่าวอีกว่า สำหรับ พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (7) ได้กำหนดไว้ชัดเจน ว่า ห้ามไม่ให้มีการส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กกระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทาง การค้า อันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก ดังนั้น เกมที่มีการออกแบบให้คนติด เพื่อประโยชน์ธุรกิจโดยไม่สร้างระบบปกป้องเด็กนั้น ถือว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. อย่างชัดเชน
 
          ส่วน ทางด้าน นายประดิษฐ์ โปซิว ผู้อำนวยการสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ระหว่างปี 2552-2555 วธ. ได้อนุญาตเปิดร้ายเกมในพื้นที่ กทม. ราว 5 พันแห่ง มีการเพิกถอนใบอนุญาต 10 ร้าน และไม่อนุญาตให้เปิดร้านราว 100 ร้าน อย่างไรก็ตาม ยังมีร้านเกมที่ไม่ได้เข้าระบบการขออนุญาตอีกเป็นจำนวนมาก และขณะนี่ก็กำลังมีการแก้ไข พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อให้มีการจัดเรตติ้งเกม แทนการอนุญาตหรือไม่อนุญาตเพียงอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา

 

 

ข้อมูลจากกระปุกดอทคอม

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X