'ชิน-โอคุโบะ' ย่านโคเรียนทาวน์ที่ประเทศญี่ปุ่น กำลังซบเซาหลังจากความนิยมเกาหลีลดลง
2015-06-14 10:21:46
Advertisement
คลิก!!!

'ชิน-โอคุโบะ' ย่านโคเรียนทาวน์ที่ประเทศญี่ปุ่น

กำลังซบเซาหลังจากความนิยมเกาหลีลดลง

ถ้าคุณกำลังมองหาร้านอาหารเกาหลีขณะอยู่ในกรุงโตเกียว คุณต้องมาที่ชิน-โอคุโบะ (Shin-Okubo) แหล่งที่ขึ้นชื่อว่าคือ 'โคเรียนทาวน์' ที่ตั้งอยู่กลางกรุงโตเกียว สถานที่แห่งนี้มักจะเป็นที่ชุมนุมกันของแฟนๆ ละครเกาหลี แฟนเพลงเคป็อบ และร้านอาหารเกาหลี แต่น่าเศร้าที่ครั้งหนึ่งสถานที่แห่งนี้เคยเป็นแหล่งที่คึกคักของผู้ที่ชื่นชอบทุกสิ่งเกี่ยวกับเกาหลี ในวันนี้มันกลับดูไม่คึกคักเหมือนเช่นเคย เนื่องจากความนิยมของกระแสฮันรยูที่ประเทศญี่ปุ่นได้ลดลงไปเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา

ย้อนกลับไปในช่วงปี 2000 ผู้ชมทางทีวีของญี่ปุ่นนั้นหลงรักกับละครเกาหลีกันมากๆ แสดงให้เห็นว่าถ้าละครได้รับความนิยม ก็มีส่วนช่วยให้สินค้าและอาหารของเกาหลีนั้นได้รับความนิยมที่ประเทศญี่ปุ่นตามไปด้วย ในช่วงฟุตบอลโลก '2002 FIFA World Cup' นั้น เรามีโอกาสได้เห็นเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมกัน และถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของคนยุคใหม่ ที่ต่างไม่ได้สนใจประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่ขัดแย้งกันมาในอดีตระหว่าง 2 ประเทศเหมือนเช่นที่ผ่านมา

ความคลั่งไคล้กระแสเกาหลีที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ทำให้เกิดโคเรียนทาวน์ขึ้นมาถึง 2 แห่ง ทั้งที่ทสึรุฮาชิ ในโอซาก้า และชิน-โอคุโบะ ในโตเกียว ทั้งสองย่านนี้เราจะได้เห็นการเติบโตของร้านอาหารและธุรกิจของเกาหลี ที่อาศัยความนิยมกระแสฮันรยูผลักดันยอดขายให้กับพวกเขา อย่างไรก็ตาม ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศกลับมาตรึงเครียดกันอีกครั้งจากเรื่องทางการเมืองของผู้นำทั้งสองประเทศ ชาวญี่ปุ่นหลายคนได้มีการพูดถึงประเด็นของอดีตประธานาธิบดีของเกาลีใต้ นายอีมยองบัก (Lee Myung Bak) ที่ได้เดินทางไปเยี่ยมที่หมู่เกาะทาเคชิมะ/ด็อกโด ในปี 2012 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นมีมุมมองกับประเทศเกาหลีใต้ที่ดูแย่ลง หมู่เกาะแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ทั้งสองประเทศพยายามที่จะแย่งสิทธิในการครอบครองมาตั้งแต่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงในตอนนี้ปัญญาต่างๆ ก็ยังไม่สามารถหาทางออกกันได้เลย   

 

▼ นี่คือจุดที่ตั้งของหมู่เกาะทาเคชิมะ หรือหมู่เกาะด็อกโด

 

ในขณะที่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศกลับมาตรึงเครียดกันอีกครั้ง ส่งผลให้ย่านโคเรียนทาวน์ทั้งสองแห่งนั้นดูเงียบเหงาและซบเซาลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านชิน-โอคุโบะ จะเห็นได้จากจำนวนที่ลดลงของผู้เข้าเยี่ยมชมส่งผลให้ยอดขายสินค้านั้นลดลงตามไปด้วย ดังเช่นกรณีของร้านอาหารเกาหลีชื่อดังอย่างร้าน 'Taishikan' และ 'Ozakkyo' ก็ตัดสินใจปิดกิจการลงในเวลานั้น ในขณะที่ร้านอาหารเกาหลีอื่นๆ ที่ยังคงเปิดบริการอยู่ต่างก็มียอดขายที่ลดลงไปกว่า 30% ยิ่งไปกว่านั้นร้านค้ากว่า 70 แห่งในย่านนี้ก็ตัดสินใจปิดกิจการลงเช่นกัน อาทิ ห้างสรรพสินค้าฮันคยู (Hankyu Department Store) ซึ่งปัจจุบันได้ถูกแทนที่โดยร้านค้าปลอดภาษี ที่มุ่งเน้นลูกค้าชาวจีนเป็นส่วนใหญ่  

ถ้าคุณเคยอ่านบทความเกี่ยวกับการลดลงทางธุรกิจในย่านชิน-โอคุโบะมาก่อน คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า "เคนคาน" (ผู้คนที่เกลียดชังทุกสิ่งที่เป็นเกาหลี) ซึ่งนั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผล อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงประเด็นเดียวกันนี้ ชาวเน็ตเกาหลีก็แสดงทำการแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องการลดลงทางธุรกิจของย่านชิน-โอคุโบะเอาไว้เช่นกันว่า

“จริงเหรอ? ปัญหาเกิดจากเคนคานเท่านั้นเหรอ? เมื่อคนเกาหลีได้มาเรียนหนังสือในโตเกียว วันนั้นพวกเขาจะเข้าใจอะไรมากขึ้น มันน่าจะเกิดจากการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ประกอบการในย่านชิน-โอคุโบะมากกว่านะ พวกเขาเข้าใจว่าศัตรูของคนเกาหลีก็คือคนเกาหลีคนอื่นๆ นั่นเอง"  

“ฉันอาศัยอยู่ใกล้กับย่านชิน-โอคุโบะค่ะ แต่ฉันก็ไม่เคยได้เห็นพวกเคนคานกันมากนักที่นี่ ร้านอาหารปิดตัวลงน่าจะเป็นเพราะว่าพวกเขาขายแพงเกินไปและมันอาจจะไม่ได้อร่อยขนาดนั้นก็ได้นะคะ ปัญหาเรื่องของเคนคานนั้นเป็นเพียงแค่ข้อแก้ตัวของคนเกาหลีค่ะ"

“ผมอยู่ที่โอซาก้าครับ ผมไม่เคยถูกเลือกปฏิบัติเพียงเพราะว่าผมเป็นคนกาหลีเลยครับ”

นี่คือความคิดเห็นที่แตกต่างมุมมองของคนที่พูดถึงการที่ย่านชิน-โอคุโบะซบเซาลง ว่าคงไม่ได้เกี่ยวกันหรอกกับพวกเคนคาน เหตุผลจริงๆ นั้นอาจมีมากมายหลายเรื่องที่มีส่วนทำให้ธุรกิจนั้นไม่สามารถเดินหน้าได้ต่อไป พวกเราก็ได้เพียงแต่หวังว่า ปัญหาความสัมพันธ์ที่ตรึงเครียดระหว่างคนสองชาตินี้นั้นจะบรรเทาลงไป  และสามารถทำให้เกาหลีและญี่ปุ่นเชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันได้อย่างแน่นแฟ้นขึ้นอีกครั้งในอนาคต  

 

แปลจาก http://en.rocketnews24.com

โดย http://www.popcornfor2.com หากนำไปใช้กรุณาให้เครดิตเว็บไซต์ด้วยค่ะ

 
 
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X