เคล็ด (ไม่) ลับ เลือกครีมเทียม ... ให้ได้คุณภาพ
2015-04-11 15:48:37
Advertisement
คลิก!!!

เชื่อว่าบ้านไหนๆ ที่มีสมาชิกดื่มกาแฟ ก็ต้องมีครีมเทียมติดบ้านไว้ เพื่อเพิ่มความกลมกล่อมให้กับกาแฟแก้วโปรด ซึ่งครีมเทียม 1 ช้อนชา ให้พลังงานเพียง 15 กิโลแคลอรี ถ้าชงกาแฟ 1 ช้อนชา น้ำตาล 2 ช้อนชา และครีมเทียม 2 ช้อนชา ก็จะให้พลังงานทั้งหมดเพียง 60 กิโลแคลอรีเท่านั้น พลังงานที่ได้รับพอๆ กับที่เราทานคุกกี้รสเนย 2 ชิ้นครึ่ง

หลักในการเลือกซื้อครีมเทียมที่ดี อย่างแรกคือควรอ่านข้อมูลผลิตภัณฑ์และตารางโภชนาการด้านหลังบรรจุภัณฑ์ให้ถี่ถ้วน ตรวจสอบว่า ... ไม่มีคอเลสเตอรอล ... ไม่มีไขมันทรานส์ ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นครีมเทียมที่มีคุณภาพมาตรฐาน ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสมด้วยนะคะ 

และหากจะดื่มให้ได้รสชาติ ก็ควรต้องรู้ว่าเรากินอะไรเข้าไปบ้าง แต่ละส่วนผสมทำหน้าที่อะไร ซึ่งหากพลิกฉลากดูส่วนประกอบของครีมเทียมที่ผลิตในประเทศไทย ที่มีมาตรฐานการผลิตขั้นสูง มีคุณภาพได้มาตรฐาน ก็จะพบว่า ส่วนผสมเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งมีตั้งแต่

• น้ำเชื่อมกลูโคส (Glucose Syrup) อาจเรียกว่า กลูโคสไซรัป หรือ แบะแซ เป็นวัตถุดิบให้รสหวาน (sweetener) ที่เป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวในรูปของเหลว ใส และข้นหนืด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยแป้ง เช่น แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า เป็นต้น

• ไขมันพืช (Hydrogenated Vegetable oil) เป็นการแปรรูปไขมันโดยเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) เข้าไปที่พันธะคู่ของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น การทำเนยเทียมและเนยขาว กระบวนการเติมไฮโดรเจนนี้ มักจะดำเนินไปอย่างไม่สมบูรณ์ (Partial Hydrogenation) ซึ่งจะทำให้บางส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งอยู่ในรูป cis-isomer ก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นรูป trans-isomer ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทย มีบริษัทที่มีคุณภาพ และใส่ใจผู้บริโภค คัดสรรวัตถุดิบที่ผ่านนวัตกรรมขั้นสูง ใช้กระบวนการเติมไฮโดรเจนชนิดเต็มรูปแบบ (Fully Hydrogenation) ทำให้ครีมเทียมที่ได้ออกมา ปราศจากไขมันทรานส์ 

• สารแต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ (Natural Identical Flavor Added) เป็นสารให้กลิ่นที่สกัดได้จากวัตถุดิบที่มีกลิ่น หรือได้จากการสังเคราะห์ ซึ่งเป็นสารที่มีสูตรโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับสารให้กลิ่นจากธรรมชาติและบริโภคได้

• โซเดียมเคซิเนต (โปรตีนนม) สามารถแยกออกจากน้ำนมได้โดยการตกตะกอนด้วยเอนไซม์ตามธรรมชาติ ทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) ทำให้ครีมเทียมมีสีขาวเมื่อกระจายตัวในน้ำ นอกจากนี้ยังให้กลิ่นรสของนม

• อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier) หลายคนเข้าใจว่าเป็นสารเคมีที่ใช้ย่อยสลายน้ำมัน ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าเป็นสารคนละประเภท แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับที่ใช้กำจัดคราบน้ำมันในทะเล ถึงแม้ว่าชื่อและหน้าที่จะเหมือนกัน แต่คนละสารกัน ตัวอย่างอิมัลซิไฟเออร์ เช่น เลซิทิน (lecithin) ที่ได้จากถั่วเหลือง และไข่แดง หรือจากโปรตีน เช่น เวย์ (whey) เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ส่วนประกอบในครีมเทียมที่ทำมาจากวัตถุดิบหลักจากธรรมชาติ ใช้ไขมันพืชเป็นส่วนผสมในการผลิต จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ครีมเทียมปราศจากคอเลสเตอรอล และถ้าไขมันพืชนั้นผ่านกระบวนการผลิต แบบ Fully Hydrogenation ครีมเทียมที่ได้ก็จะไม่มีไขมันทรานส์ แค่ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม คุณก็ยังสามารถดื่มกาแฟแก้วโปรดได้อย่างอร่อยกลมกล่อม ไม่ต้องกังวลเกินกว่าเหตุอีกต่อไปค่ะ

 

ขอขอบคุณที่มา  ไทยรัฐออนไลน์

 

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X