5 อันตรายจากเชื้อแบคทีเรียในจานคุณ
2012-10-10 12:05:07
Advertisement
คลิก!!!
จาน


5 อันตรายจากเชื้อแบคทีเรียในจานคุณ (ชีวจิต)

          อาการปวดท้องหรือท้องเสีย ดูจะเป็นเพื่อนสนิทกับคุณได้ทุกเมื่อในยุคสมัยเร่งรีบเช่นนี้ ยิ่งชีวิตคนทำงานในเมือง ที่นอกจากทำงานเช้าจดค่ำแล้ว การทำอาหารกินเองที่บ้านยังกลายเป็นเรื่องยากแสนยาก จึงต้องพึ่งพิงอาหารนอกบ้านสารพัดรูปแบบ ทั้งข้างทาง ขึ้นห้าง หรือตลอดจนอาหารสำเร็จรูปที่มีให้เลือกซื้อมากมาย

          ตามปกติอาหารทุกชนิดจะมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่บ้างโดยธรรมชาติ แต่ถ้ายิ่งนำมาประกอบอาหารไม่ถูกต้อง ทำแบบสุก ๆ ดิบ ๆ หรือเก็บรักษาไว้ไม่ดี เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนทำให้คนที่รับประทานเป็นโรคต่างๆ ขึ้นได้


          ทางที่ดีที่สุดคือ ทำอาหารด้วยตัวคุณเอง นอกจากได้ทานอาหารอร่อยที่อุดมคุณค่า ยังได้ภาคภูมิใจกับฝีมือของตัวเองอีกด้วย แต่หากเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ควรเลือกทานอาหารที่ปรุงสุก สด และอย่าลืมสำรวจความสะอาดตั้งแต่เครื่องครัว อาหาร ตลอดจนผู้ปรุงอาหารให้คุณทาน โอกาสที่จะเป็นโรคจากเชื้อแบคทีเรียก็จะน้อยลง เราชวนกันมาสังเกต 5 เชื้อแบคทีเรียที่คุณอาจพบเจอในอาหารมื้อนี้ของคุณได้ ดังนี้ค่ะ

The image “http://www.kapook.com/images3/Variety.gif” cannot be displayed, because it contains errors. 1. คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเกนส์ (Clostridium perfringens)

          การแพร่เชื้อ : เนื้อสัตว์ แกง อาหารแห้ง เช่น กะปิ น้ำพริกต่าง ๆ รวมถึงอาหารที่ยังร้อนไม่ได้ที่ หรือแช่แข็งอาหารช้าเกินไป

          อาการ : ถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้ ปวดบิดในท้อง โดยปกติจะไม่มีไข้ เริ่มมีอาการภายใน 1-16 ชั่วโมง และจะเป็นนาน 1-2 วัน

          การป้องกัน : ปรุงอาหารร้อน ๆ ให้เนื้อสุกเกิน 60 องศาเซลเซียส หรือนำไปอุ่นให้ได้อย่างน้อย 73 องศาเซลเซียส แช่แข็งอาหารทันที และเก็บอาหารในภาชนะที่สะอาด

The image “http://www.kapook.com/images3/Variety.gif” cannot be displayed, because it contains errors. 2. เอสเชอริเซีย โคไล (เชื้ออี.โคไล)

          การแพร่เชื้อ : การปนเปื้อนในโรงฆ่าสัตว์ พบมากที่สุดในเนื้อบดที่ปรุงไม่สุก แหล่งอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ นมดิบ น้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอไรซ์ อุจจาระ และน้ำสกปรก

          อาการ : ถ่ายเหลวเป็นน้ำและถ่ายเป็นเลือดภายใน 24 ชั่วโมง ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้ บางรายมีอาเจียน แต่ไม่มีไข้ เริ่มมีอาการภายใน 1-8 วัน และจะเป็นนาน 5-8 วัน

          การป้องกัน : ปรุงเนื้อสัตว์ให้เนื้อในสุกถึง 70 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงการดื่มนมดิบหรือน้ำผลไม้ที่ไม่ได้พาสเจอไรซ์ และล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

The image “http://www.kapook.com/images3/Variety.gif” cannot be displayed, because it contains errors. 3. ซาลโมเนลลา (Salmonella)

          การแพร่เชื้อ : น้ำนม เนื้อสัตว์ดิบหรือปนเปื้อน ไข่แดงปนเปื้อน พบในอาหารที่ปรุงไม่สุก เชื้อโรคมักจะแพร่ไปกับมีด เขียง หรือกับผู้ป่วยติดเชื้อที่รักษาสุขอนามัยไม่ดี

          อาการ : ท้องร่วงรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้สูงถึง 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้น เริ่มมีอาการภายใน 6-72 ชั่วโมง และจะเป็นนาน 1-14 วัน

          การป้องกัน : ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุก หลีกเลี่ยงการดื่มนมดิบ ไข่ดิบ หมั่นทำความสะอาดมีด เขียง และล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง

The image “http://www.kapook.com/images3/Variety.gif” cannot be displayed, because it contains errors. 4. สเตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)

          การแพร่เชื้อ : แพร่เชื้อจากการสัมผัสมือ ไอ และจาม เชื้อโรคจะเติบโตได้ดีในเนื้อสัตว์ น้ำปรุงสลัด ครีมซอส ขนมจีน อาหารและขนมที่ใช้มือหยิบจับ

          อาการ : ถ่ายเหลวรุนแรง ปวดบิดในท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เริ่มมีอาการภายใน 1-6 ชั่วโมง และจะเป็นนาน 1-2 วัน

         การป้องกัน : อย่าวางอาหารที่ติดเชื้อง่ายทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ล้างมือและเครื่องครัวก่อนนำมาปรุงอาหารทุกครั้ง

The image “http://www.kapook.com/images3/Variety.gif” cannot be displayed, because it contains errors. 5. วิบริโอ วัลนิฟิคัส  (Vibrio vulnificus)

          การแพร่เชื้อ : อาหารทะเลดิบทุกชนิด โดยเฉพาะหอยนางรม หอยแครง และหอยแมลงภู่ดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ

          อาการ : เป็นไข้ หนาวสั่น เป็นโรคผิวหนัง เริ่มมีอาการภายใน 1 ชม. – 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยร้อยละ 50 มีโอกาสเสียชีวิตได้

          การป้องกัน : งดเว้นการกินอาหารทะเลดิบทุกชนิด และต้องปรุงให้สุกทุกครั้งก่อนรับประทาน


          3 ส.ท่องจำให้ขึ้นใจ "สุก สด และสะอาด" เพียงเท่านี้คุณคงไม่ต้องรับมือกับข้าศึกบุกอีกต่อไปแล้วค่ะ

 

 

ข้อมูลจากกระปุกดอทคอม

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X