ดัน 6 ยากำพร้า เข้าระบบประกันสุขภาพ
2012-08-24 10:59:13
Advertisement
คลิก!!!
ยากำพร้า


ดัน 6 ยากำพร้า เข้าระบบประกันสุขภาพ (ไทยโพสต์)

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติวันที่ 19 เมษายนนี้ จะมีวาระการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการเพิ่มการเข้าถึงยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษ (Antidote) ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงยามากขึ้น

ทั้งนี้ ยากำพร้าเป็นยาจำเป็นต่อการให้บริการแก่ผู้ป่วย ใช้รักษาโรคที่พบได้น้อยหรือโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรงหรือโรคที่ก่อให้เกิด ความทุพพลภาพอย่างต่อเนื่องได้ แต่จัดเป็นกลุ่มยาที่มีการใช้น้อยมากทำให้หาได้ยากและบริษัทยาไม่สนใจผลิต เนื่องจากกำไรน้อยและอาจไม่คุ้มการลงทุนหรือบางรายการมีราคาที่สูงมาก จนสถานพยาบาลไม่สำรองยาไว้บริการ

นอกจากนี้ ยังอาจเป็นกลุ่มยาที่มีราคาถูกมากบริษัทยาจึงไม่ผลิตเช่นกัน ปัญหาไม่เพียงแต่ไม่มีการสำรองไว้ในสถานพยาบาลเท่านั้น บางครั้งยากลุ่มเหล่านี้ยังไม่มีการสำรองในตลาดยาด้วยซ้ำ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนยาเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ยาแก้แพ้ โดยเฉพาะอาการแพ้สารพิษ สารเคมี ยาปราบศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง เป็นต้น

นพ.ประทีป กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นถือเป็นความเดือดร้อนของสถานบริการในระบบ เพราะไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ และถือเป็นปัญหาของระบบหลักประกันสุขภาพที่ต้องให้การรักษาอย่างครอบคลุม ดังนั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น และมีปัญหาในการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ ที่มี ภญ.สำลี ใจดี กรรมการ สปสช.เป็นประธาน จึงได้คัดเลือกรายการยาในกลุ่มดังกล่าวขึ้นมา 6 รายการ เพื่อนำเสนอและให้มีการสำรองยาไว้ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อระบบบริการให้กับประชาชนมาขึ้น

นพ.ประทีป กล่าวว่า สำหรับการประมาณการความต้องการยาทั้ง 6 รายการนี้ พิจารณาจาก 1.จำนวนผู้ได้รับพิษที่ปรึกษามาที่ศูนย์พิษวิทยา 2.ปริมาณยาที่ใช้ต่อผู้ป่วย 1 ราย คือ ปริมาณยาที่ใช้โดยทั่วไปในผู้ป่วยแต่ละราย และ 3.จำนวนผู้ได้รับพิษที่ปรึกษามาที่ศูนย์พิษวิทยาปี พ.ศ.2550 คิดเป็นร้อยละ 12 ของผู้ที่ได้รับพิษทั้งหมดทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้รักษาภาวะจากสารเคมีและยาฆ่าแมลงนั้น จำเป็นต้องสำรองไว้ เมื่อพิจารณาจากสภาพทั่วไปของประเทศไทยที่เห็นได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ต่างเป็นเกษตรกร อีกทั้งยังมีการขยายของอุตสาหกรรมมากขึ้น ยาเหล่านี้จึงต้องสำรองไว้เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนยา

ส่วนการดำเนินสำรองยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษนี้ นพ.ประทีปกล่าวว่า จะร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ในการสำรองยา ไม่ว่าจะเป็นการผลิตขึ้นเอง หรือการสั่งนำเข้าเพื่อนำมาสต็อกไว้ที่ อภ. และจัดทำระบบกระจายไปยังสถานพยาบาลเพื่อรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที เนื่องจาก อภ.เป็นหน่วยงานภาครัฐซึ่งมีภารกิจในการผลิตยาเพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงยาได้ คาดว่าเบื้องต้นจะใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท ในการสำรองยา 6 รายการนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษที่เตรียมนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมบอร์ด สปสช. 6 รายการ ได้แก่ 1.Dimercaprol inj (BAL) 2.Sodium nitrite inj 3.Sodium thiosulfateinj 4.Methylene blue inj 5.Glucagon inj 6.Succimer cap (DMSA) รวมวงเงินค่ายาและค่าบริหารจัดการประมาณ 5,000,000 บาท โดยจะใช้งบประมาณในปี 2553 นี้ ซึ่งในการเสนอการเพิ่มการเข้าถึงยากำพร้ากลุ่มนี้ไม่เพียงแต่จะดูแลผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมผู้ป่วยทั้ง 3 ระบบกองทุน ทั้งระบบประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ เพื่อรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับพิษในกรณีที่ตั้งใจ และไม่ตั้งใจ เช่น ในกรณีเกิดไฟไหม้ หรืออุบัติเหตุในครัวเรือน ผู้ป่วยกลุ่มที่เกิดพิษหรือเป็นโรคจากการทำงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม และเพื่อสำรองไว้ใช้ในชุมชนเขตนิคมอุตสาหกรรม และในศูนย์อาชีวเวชศาสตร์และพิษวิทยา กระทรวงสาธารณสุข กรณีปัญหามาบตาพุด

ทั้งนี้ ยังเตรียมนำเสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติพิจารณารายการ ยาดังกล่าวเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ "หมวดยากำพร้า" ต่อไป

ข้อมูลจากกระปุกดอดคอม

onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X