ผลตรวจซากกระทิงกุยบุรี พบไนเตรทปริมาณมาก คาดจากหญ้าไมยราบ
2014-01-18 17:00:54
Advertisement
คลิก!!!


กระทิงกุยบุรีตายต่อเนื่อง ล่าสุด ผลการตรวจซากกระทิง 17 ตัว พบมีไนเตรททุกตัวมากน้อยต่างกัน มี 2 ตัวที่ปริมาณสูงถึงตาย คาดมาจากหญ้า ข้าวฟ่าง ไมยราบไร้หนาม และดินโป่ง แต่ยังไม่ตัดประเด็นวางยา

จากเหตุกพบซากกระทิงตายต่อเนื่องในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ล่าสุด (17 มกราคม 2557) ได้มีการแถลงความคืบหน้าการตรวจสอบสาเหตุการตายของกระทิง ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดย นายนิพนธ์ โชติบาล รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ นสพ.ปรีชา วงษ์วิจารณ์ ผอ.สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ นายอนุพันธ์ อิฐรัตน์ ผอ.สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และ นสพ.ปานเทพ รัตนกร คณบดีคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โดย นายนิพนธ์ เผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2556 ถึง 16 มกราคม 2557 พบซากกระทิงทั้งหมด 22 ตัว ทางกรมอุทยานฯ ได้วางแนวทางสืบสวนหาสาเหตุการตายของกระทิงเหล่านี้ ประเด็นแรก ดูว่าเป็นการล่าหรือไม่ ตรวจสอบพบว่า ไม่น่าจะใช่การล่า เพราะไม่ได้มีการนำซากออกจากพื้นที่ ทั้งหัวและเขาของกระทิงยังอยู่ครบ และไม่พบหัวกระสุนปืนด้วย ประเด็นที่ 2 การตายจากสารพิษ เมื่อตรวจสอบชิ้นเนื้อแล้ว ก็ยังไม่พบสารพิษ ประเด็นที่ 3 การวางยา พบว่า เป็นไปได้น้อยมาก เพราะหากวางยา ต้องวางยาทุกวัน และรู้เส้นทางหากินของกระทิง ต้องคุยกับกระทิงรู้เรื่อง จะได้วางยาถูก และประเด็นที่ 4 เรื่องความขัดแย้งของเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบพบว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่ก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว และได้ขอขยายเวลาสอบสวนออกไปแล้ว

ด้าน นสพ.ปรีชา เผยว่า ทางสถาบันฯ ได้ซากกระทิงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ซึ่งเป็นซากเก่าและเน่า จึงเป็นข้อจำกัดและยุ่งยากต่อการตรวจสอบ อย่างไรก็ดี ได้มีการตรวจสอบชิ้นเนื้อ น้ำดิน ซากอาหารในกระเพาะ โดยวางแนวทางเป็น 3 เรื่อง คือ 1. โรคระบาดจากสัตว์ 2. สารพิษ 3. อื่น ๆ โดยเรื่องโรคแบ่งเป็น แบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ พบว่า ไวรัสตรวจ 15 โรคสำคัญ แต่ไม่เจอตัวบ่งชี้ว่าจะทำให้กระทิงตาย แบคทีเรีย 8 โรค ไม่เจอเชื้อแอนแทร็กซ์และโรคคอบวมที่ทำให้ตายเฉียบพลันได้ แต่เจอเชื้อคลอสซิเดียมโนมิอาย 9 ตัวจาก 17 ตัว ซึ่งเชื้อดังกล่าวสามารถทำให้กระทิงตายได้ ส่วนพยาธิ 3 โรค เจอเชื้ออะนาพาสม่า 2 ตัวใน 17 ตัว ซึ่งเชื้อดังกล่าวจะทำให้สัตว์มีไข้ และซึมตายในที่สุด

ส่วนการหาสารพิษ นสพ.ปรีชา ระบุว่า จากการตรวจจำพวกยาฆ่าแมลง 10 ชนิดที่นิยมวางยาสัตว์นั้น ไม่พบสารพิษใด ๆ แต่การตรวจโลหะหนัก พบสาร ไนเตรท ซึ่งเป็นเกลือชนิดหนึ่งที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเช่น ดินโป่ง หญ้า พืชบางชนิด ซึ่งถ้ามีปริมาณไนเตรทมาก และสัตว์กินเข้าไปมากและติดต่อกัน ไนเตรทจะเข้าไปในกระแสเลือด ไปรวมตัวกับฮิโมโกลบิน ส่งผลให้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าสู่ร่างกาย จนทำให้สัตว์ตายเฉียบพลันได้ ซึ่งจากตัวอย่างของกระทิง 17 ตัว พบไนเตรทในทุกตัวปริมาณมากน้อยต่างกัน โดยในกระทิง 2 ตัว พบไนเตรทกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะทำให้กระทิงตายได้

ทั้งนี้ ไมยราบไร้หนาม คือพืชที่สัตว์ชอบกินมากที่สุดรองจากหญ้า ซึ่งจากสภาพที่เปลี่ยนแปลง ทั้งภาวะแล้ง ฝนมาก หรือแม้กระทั่งการให้ปุ๋ย ก็อาจทำให้พืชสะสมไนเตรทไว้มากได้ อย่างไรก็ดี จากการที่ตัวอย่างซากกระทิงเป็นซากเก่า และเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าหากกระทิงตายเพราะกินไนเตรทเข้าไปมากจริง ปริมาณไนเตรทในกระเพาะอาหารตอนที่ตายใหม่ กับเมื่อระยะเวลาที่ผ่านไปจะทำให้ไนเตรทมีค่าลดลงหรือไม่ แต่จากการตรวจสอบในวันที่ 10 ธันวาคม 2556 ตรวจพบค่าไนเตรท 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในซากกระทิง แต่เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม กลับเหลือค่าไนเตรทแค่ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จึงสรุปเบื้องต้นว่า ไนเตรทที่ตรวจพบในตอนแรกก็อาจไม่ใช่ปริมาณจริงเช่นกัน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ไนเตรทและเชื้อคลอสซีเดียมมาจากไหน หากไนเตรทมาจากไมยราบไร้หนามแล้วทำไมสัตว์ชนิดอื่นที่กินพืชชนิดนี้ถึงไม่ ตายเหมือนกระทิง และก่อนหน้านี้ในฤดูกาลเดียวกัน ทำไมกระทิงถึงไม่ตาย นสพ.ปรีชา กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะตนมีหน้าที่แค่พิสูจน์ และเจอไนเตรทกระเพาะของกระทิงในปริมาณมากพอที่จะทำให้กระทิงตายเท่านั้น แต่ไม่สามารถรู้ว่ากระทิงกินไนเตรทมาจากไหน กระทิงกินไมยราบไร้หนามเข้าไปหรือไม่ และไม่รู้ว่าทำไมสัตว์ชนิดอื่นที่กินพืชชนิดเดียวกับกระทิงถึงไม่ตาย เพราะยังไม่ได้ตรวจสัตว์ชนิดอื่น

ขณะ ที่ นายอนุพันธ์ กล่าวว่า จากการเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อม ตะกอนดินท้องน้ำ 15 จุด ครอบคลุมบริเวณพื้นที่กระทิงตายและคาดว่ากระทิงจะเข้าไป พบปริมาณโลหะหนัก 10 ชนิดเช่น สารหนู แคดเมียม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และจากตัวอย่างดิน 6 จุด พบสารหนู 29 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในบริเวณริมตลิ่งห้วยขุดใหม่ ใกล้จุดที่พบซากกระทิงตัวที่ 1 แต่ไม่น่าจะก่อให้เกิดพิษแบบเฉียบพลันจนเป็นสาเหตุการตายได้ และจากตัวอย่างน้ำ 10 จุด ก็ตรวจไม่พบไซยาไนด์ และสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์แต่อย่างใด

ส่วน นายธีรภัทร กล่าวว่า ผลตรวจทั้งหมดในวันนี้ เป็นเพียง 70 เปอร์เซ็นต์ของการตรวจสอบ ไม่ถือเป็นข้อสรุป อย่างไรก็ตาม กรมอุทยานฯ จะเฝ้าระวังพื้นที่ทั้งการกำจัดซาก พ่นยาฆ่าเชื้อการควบคุมการเข้าออกพื้นที่ เฝ้าระวังวัวแดง 4 ตัว และห้ามปล่อยสัตว์เพิ่มเติมรวม ทั้งห้ามเข้าพื้นที่อุทยานฯ กุยบุรี จนถึงเดือนมีนาคม 2557 จากนั้นจึงจะประเมินสถานการณ์อีกครั้ง

ด้าน นสพ.ปานเทพ กล่าวว่าเนื่องจากตัวอย่างชิ้นเนื้อและเนื้อเยื้อที่นำมาตรวจสอบนั้น เป็นซากเก่าและเน่ามากผลการเพาะเชื้อต่าง ๆ จึงต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ทีมงานจึงตกลงกันว่าน่าจะเก็บข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่อยู่ข้างพื้นที่อุทยานฯ เพิ่มเติม เช่น การเก็บตัวอย่างเลือดหมูป่าหรือกระทิงตัวเป็น ๆ มาตรวจหาเชื้ออื่น ๆ ว่าสัตว์เหล่านั้นนำโรคมาสู่กระทิงได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูป่า ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไปได้ทุกหนทุกแห่งและสามารถนำเชื้อไปติดกระทิงได้ด้วย

เมื่อถูกถามว่า ขณะนี้ได้ตัดประเด็นการวางยาทิ้งไปแล้วหรือยัง และสารไนเตรทในกระทิง สามารถเกิดขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ได้หรือไม่ รักษาการอธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ตัดประเด็นใดทิ้งไปเลย ต้องรอผลตรวจสอบจากห้องแล็บเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเดียวเท่านั้น

ข้อมูลจากกระปุกดอทคอม

onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X