พาชมโรงเรียนอนุบาลที่น่าเรียนที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
2015-07-09 12:37:33
Advertisement
คลิก!!!

พาชมโรงเรียนอนุบาลที่น่าเรียนที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

นี่คือโรงเรียนอนุบาลฟูจิ ที่ตั้งอยู่บริเวณรอบนอกของกรุงโตเกียว สภาพแวดล้อมของโรงเรียนแห่งนี้ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับเด็กๆ เท่านั้น หลังคาทรงกลมของโรงเรียนได้รับการออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก "Tezuka Architects" ภายในยังมีพื้นที่สนามเด็กเล่นซ่อนตัวอยู่ในทุกจุด และยังมีต้นไม้ที่อยู่ระหว่างภายในตัวอาคารเรียนอีกด้วย

 

สนามเด็กเล่นที่เด็กๆ นั้นสามารถวิ่งเล่นได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

“พวกเราออกแบบโรงเรียนแห่งนี้ให้เป็นวงกลมครับ ซึ่งทางเดินในนั้นมันจะไม่มีจุดสิ้นสุด เมื่อพวกเราเริ่มต้นผมไม่อยากทำมันให้ออกมาเป็นในรูปแบบของอุปทานครับ โรงเรียนอนุบาลที่อื่นๆ จะเป็นเหมือนกระจกมองด้านหลังรถ ที่ถึงแม้คุณจะมองอย่างใกล้ชิดมากแค่ไหน คุณก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นด้านหน้าได้ครับ"

 

เด็กๆ สามารถสไลด์ดินลงมายังชั้นเรียนได้

“พวกเราได้วางเนินดินเล็กๆ ไว้ใต้บันไดด้านล่างที่นำไปสู่ชั้นบนสุดซึ่งเป็นหลังคาครับ นี่คือเคล็ดลับในการทำให้บันไดนั้นมีความสั้นลง คุณเห็นที่สไลด์กันมั้ยครับ? ผมรู้ดีว่าเด็กๆ นั้นชื่นชอบการสไลด์กันครับ"  

 

การฝึกซ้อมความปลอดภัยที่น่ารัก

“ประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่มากที่สุดของโลก ดังนั้นเด็กๆ ควรจะทำการฝึกซ้อมการรับมือกับแผ่นดินไหวครับ เด็กๆ จะใช้หมวกผ้าฝ้ายเหล่านี้ที่วางไว้ใต้โต๊ะ เพื่อป้องกันบางสิ่งบางอย่างตกลงมาใส่ศีรษะของพวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกันมากครับ"

 

รั้วที่มีความปลอดภัยได้มาตราฐาน

“รั้วของโรงเรียนแห่งนี้จะมีขนาดช่องว่างกว้างไม่เกิน 100 มิลลิเมตร เพื่อไม่ให้เด็กๆ นั้นสามารถนำหัวของพวกเขาผ่านลงไปได้ครับ แต่พวกเขาสามารถใส่ขาของพวกเขาผ่านไปได้ เพราะเด็กๆ นั้นรักในการแกว่งขาเล่นของพวกเขาครับ”

 

ทุกสิ่งสามารถนำมาเป็นของเล่นได้

“พวกเราต้องสร้างโรงเรียนขึ้นมาในพื้นที่ที่มีต้นไม้อยู่ก่อนแล้ว มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ เราไม่สามารถตัดรากของต้นที่กระจายตัวอยู่รอบๆ บริเวณของต้นไม้ไปได้ ดังนั้นเราจึงทำตาข่ายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยไม่ให้เด็กๆ นักเรียนตกหลุมที่อยู่บริเวณรอบๆ ต้นไม้นั้นครับ แต่ผมรู้ว่าเด็กๆ นั้นชอบที่จะเล่นอยู่บนเปล พวกเขาต้องการที่จะกระโดดขึ้นไปเล่นกันบนนั้น ความจริงแล้วนั้นสิ่งนี้เป็นเพียงข้ออ้างของผม ในการที่จะบอกว่าเด็กๆ นั้นสามารถมีพื้นที่เล่นได้เพิ่มเติมจากเดิมเข้าไปอีกครับ"  

 

มีหน้าตาบนหลังคา

“เด็กๆ นั้นชอบให้มีหน้าต่างที่บนหลังคาครับ เพื่อที่จะได้เล่นประมาณว่า ‘เพื่อนฉันอยู่ไหนนะ?’ ‘เกิดอะไรขึ้นในชั้นเรียนด้านล่างของพวกเรา?’ และเมื่อคุณได้มองลงไป ก็จะเห็นเด็กๆ มองกลับขึ้นมา นั่นคือสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นครับ พวกเขาจะไม่มีกำแพงกั้นระหว่างชั้นเรียน ดังนั้นเสียงจะลอยผ่านไปได้อย่างอิสระจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือจากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน พวกเราพิจารณากันว่าเรื่องเสียงถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เมื่อคุณใส่เด็กเข้าไปในกล่องที่เงียบสงบ เด็กบางคนจะเกิดอาการประหม่าขึ้นมาจริงๆ ครับ"

 

เก้าอี้สามารถนำมาทำเป็นรถไฟได้

“ในทุกๆ เดือนที่โรงเรียนอนุบาลฟูจิ ครูและเด็กนักเรียนจะช่วยกันจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในชั้เรียนกันใหม่ครับ เด็กๆ สามารถใช้เก้าอี้มาเล่นเป็นรถไฟกันได้ พวกเรามีเก้าอี้ที่ทำจากไม้ราวๆ 600 กล่อง ซึ่งมันทำมาจากไม้ที่มีน้ำหนักเบาที่รู้จักกันในชื่อไม้คิริครับ มันจะไม่เป็นอันตรายหากหัวของเด็กเกิดไปกระแทกกับมุมของเก้าอี้ครับ"


 

จุดล้างมือสำหรับการพูดคุย

“ทุกวันนี้เด็กๆ ชาวญี่ปุ่นมักจะพูดคุยกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมไม่ชอบเลยครับ ผมคิดว่าถ้าเราใส่อะไรบางอย่างเข้าไปในห้องเรียน แล้วเป็นจุดที่ทำให้พวกเขาสามารถพูดคุยกันได้ ก็คงจะดีครับ ดังนั้นผมจึงได้สร้างจุดล้างมือนี้ขึ้นมาครับ"

 

เด็กๆ สามารถปีนขึ้นไปยังชั้นเรียนได้

“ในปี 2011 พวกเราได้สร้างห้องเรียน 2 ห้องพร้อมกับพื้นที่ในการเล่นครับ พวกเราเรียกมันว่า 'วงแหวนรอบต้นไม้' เพราะว่าสถาปนิก 'ปีเตอร์ คุก' ได้แวะมาเยี่ยมพวกเราและบอกกับเราว่า ที่นี่ทำให้เขานึกถึงเพลง ‘Ring Around the Rosie’ ครับ ผมคิดว่าต้นไม้ควรมีส่วนสำคัญมากกว่าตัวตึก ดังนั้นผมจึงสร้างห้องที่สามารถให้แสงผ่านเข้ามาในโรงเรียนได้ครับ เด็กๆ สามารถปีนต้นไม้ได้ และถ้าเป็นเด็กที่มีความแข็งแรงพอ ก็จะสามารถปีนขึ้นไปด้านบนได้โดยที่ไม่ต้องใช้บันไดเลยครับ โรงเรียนอื่นๆ อาจจะไม่ปล่อยให้มีเรื่องพวกนี้เกิดขึ้น แต่พวกเราเชื่อว่าเด็กๆ จะรู้ลิมิตของพวกเขาครับว่า พวกเขาควรหยุดในตอนที่พวกเขาต้องหยุดครับ"   

 

แปลจาก http://ideas.ted.com

โดย http://www.popcornfor2.com หากนำไปใช้กรุณาให้เครดิตเว็บไซต์ด้วยค่ะ

 
 
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X