ประกาศ! สรรพากรเล็งเก็บภาษีผู้ซื้อสินค้า-บริการผ่านเน็ต
2012-11-04 13:16:25
Advertisement
คลิก!!!

ช้อปปิ้งออนไลน์
 

 

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


            สรรพากร เตรียมให้ผู้ซื้อสินค้า และบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศไหลทะลักเข้าไทยหลังเปิดเออีซี และเพื่อไม่ให้ประเทศต้องสูญเสียรายได้ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

           เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม  นายสาธิต รังคศิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมกำลังปรับระบบการจัดเก็บภาษีใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการค้าและการ ดำเนินธุรกิจต้อนรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจในอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 โดยระบบที่กรมปรับใหม่นี้ต้องเชื่อมโยงกับการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต (อีคอมเมิร์ซ) ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นหลังจากเปิดเออีซี ทั้ง นี้ กรมสรรพากรมองว่าการซื้อขายหากเกิดขึ้นในไทยควรต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% ด้วย แม้จะไม่สามารถเก็บจากผู้ขายได้เพราะอยู่ในต่างประเทศ ก็จะใช้วิธีให้ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายภาษีแทน ซึ่งจะจัดเก็บทั้งจากสินค้า และการบริการ โดยขณะนี้กำลังศึกษาถึงวิธีการที่เหมาะสม

            นายสาธิต กล่าวว่า กรมสรรพากรยืนยันว่าจะยังไม่ขึ้นภาษีใด ๆ แต่กรมต้องปรับเปลี่ยนระบบ และกฎหมายให้มีความทันสมัยให้รองรับเออีซี เพราะ เมื่อเปิดเออีซี ลูกค้ามีสิทธิ์เลือกใช้บริการ หรือซื้อสินค้าจากประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ถ้าสินค้าประเทศอื่นราคาถูกกว่า และดีกว่า ซ้ำยังไม่มีการเสียภาษี อาจส่งผลให้สินค้าจากต่างประเทศไทยไหลทะลักเข้ามาในไทย และหากกรมไม่ทำอะไรเลย จะทำให้รายได้ภาษีจากตรงนี้หายไป

            ทั้ง นี้ หลังจากเปิดเออีซี การซื้อสินค้า และบริการผ่านเว็บไซต์ จะสะดวกสบายมากขึ้น ดังนั้น หากไม่เก็บภาษีตรงนี้ถือว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ซื้อขายในไทยที่เสียภาษีปกติ ซึ่งกรมมีฐานข้อมูลการซื้อขายสินค้า และสามารถตรวจสอบได้แน่นอนว่าธุรกรรมการซื้อขายตัวไหนที่ไม่ได้จ่ายภาษี ซึ่งทางกรมฯ ยังต้องศึกษาว่า จะทำอย่างไรให้มีการเก็บภาษีเหมือนกัน เพื่อให้สินค้าในประเทศแข่งขันกับต่างประเทศได้

            นายสาธิต ยังกล่าวต่อว่า ในเบื้องต้น กระทรวงการคลังได้สั่งการให้กรมสรรพากรไปดูวิธีการ ดังนั้น ทางกรมฯ จึงเตรียมเสนอแนวทางการจัดเก็บแวตเออีซีไปยังกระทรวงการคลังพิจารณาประมาณ 2-3 แนวทาง เช่น เรื่องการให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนในบางกรณี อย่างที่เรามีอยู่ตอนนี้ คือ ภ.พ.36 แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร คือ จ่ายค่าบริการบางอย่างไปเมืองนอก ก็ต้องมีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเราอาจจะขยายตัวนี้ไปยังบริการตัวอื่น ๆ และยังมีแนวทางอีกหลากหลายวิธี ที่กำลังจะรายงานให้ทางกระทรวงการคลังได้พิจารณาก่อน เพื่อให้ผู้จ่ายจะต้องเป็นคนนำส่งเอง โดยการยื่นแบบ ภ.พ.36

 

 

 

ข้อมูลจากกระปุกดอทคอม

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X