รายการของ Netflix ที่เหล่าทีมงานเพิกเฉยต่อการที่ผู้เข้าแข่งขันถูกไซเบอร์บูลลี่
คลิก!!! |
ในรายการเรียลลิตี้ มักจะมีผู้ร่วมรายการที่ถูกเลือกให้เป็น “ตัวร้าย” เป็นกลยุทธ์ในการทำให้มีผู้ชมเยอะขึ้นซึ่งมีมานานแล้ว แต่ผลเสียต่อบุคคลที่ต้องเป็นตัวร้ายนั้นรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้เข้าร่วมรายการต้องอดทนต่อการถูกบูลลี่จากโลกออนไลน์
รูปแบบที่ Toxic นี้ยังคงดำเนินต่อมาเป็นเวลาหลายปี และกลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้งจากกรณีล่าสุดที่ผู้เข้าร่วมรายการ เรียลลิตี้ของเกาหลีโดนโจมตี
คนแรกที่เป็นเหยื่อการโจมตีคือ Seonkyoung Longest ในวัย 41 ผู้เข้าแข่งขันรายการทำอาหารของ Netflix อย่าง “Culinary Class Wars” เธอเปิดเผยในโซเชี่ยลว่าตั้งแต่รายการออกอากาศเธอถูกโจมตีทาง sns “ฉันไม่เคยคิดว่าจะถูกต่อว่าในโลกออนไลน์จากคนเกาหลีเลย แต่โชคร้ายที่มันเกิดขึ้น”
ซอนกยองมีคอมเม้นท์แสดงความเกลียดชังถึง 8,000 กว่าคอมเม้นท์ใน Youtube คอมเม้นท์เหล่านั้นโจมตีตั้งแต่สัญชาติและครอบครัวของเธอ ต้นเหตุของการเกลียดชังคือการไม่ลงรอยกันระหว่างซอนกยองกับเพื่อนผู้เข้าแข่งขันคนอื่นในการแข่งขันแบบทีม ซอนกยองไม่ใช่เพียงคนเดียวที่เผชิญกับเรื่องนี้ แต่ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ก็ถูกสบประมาทหาว่า “หยิ่ง” อย่างไม่มีเหตุผล
ซองคยอง และเพื่อนร่วมทีม หนึ่งในตอนที่มีดราม่าจากเรียลลิตี้ Culinary Class Wars ทาง Netflix
ไม่ใช่แค่กรณีของซอนกยอง แต่ผู้เข้าร่วมรายการ Reality ดังอย่าง “I Am Solo” ก็ถูกโจมตีในทำนองเดียวกัน
อกซุน ผู้เข้าร่วมรายการในซีซั่น 22 ได้โพสต์ข้อความลง sns ส่วนตัวเพื่อขอให้ผู้คนหยุดพิมพ์ hate-speech ใส่
“ถ้าพวกคุณไม่อยากดูฉัน กรุณาติดต่อทีมงานค่ะ แต่หยุดส่ง DM มาหาฉันเถอะค่ะ ฉันไม่ได้นอนเลย”
ก่อนหน้านี้เธอขอให้ผู้ชมงดวิพากษ์วิจารณ์เธอในฐานะแม่เลี้ยงเดี่ยว แต่อกซุนยังถูกโจมตีจากคอมเม้นท์แย่ ๆ ไม่หยุดมากกว่า 3 สัปดาห์
เธอผิดเหรอ? อกซุนถูกมองว่าเห็นแก่ตัวตอนอยู่ในรายการ ส่วนเพื่อนร่วมรายการอีกคนอย่างซุนจาก็เป็นเป้าหมายของการโจมตีเช่นกัน ไม่เพียงแต่ดูถูกบุคลิกภาพของเธอ แต่ยังล่วงละเมิดทางเพศและแสดงความเห็นสุดน่ารังเกียจเกี่ยวกับรูปร่างของซุนจา เธอจึงดำเนินคดีตามกฎหมายต่อคนพวกนี้
กับดักตัวร้ายในรายการ Reality
รูปแบบจำเจแบบนี้ดำเนินมาเป็นเวลาหลาย 10 ปี บ่อยครั้งที่ผู้เข้าร่วมรายการที่ไม่ใช่คนดังถูกดันเข้าสู่สปอร์ตไลท์ในรูปแบบ “ตัวร้าย” ในสายตาผู้ชม
ผลคือ ผู้เข้าร่วมรายการที่เป็นตัวร้ายต้องทนกับคำวิจารณ์ของสาธารณชนที่ตามมา ชีวิตของพวกเขาหลังรายการออกอากาศต้องเจอกับคอมเม้นท์รุนแรง บังคับให้หลายคนต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ หรือกรณีที่รุนแรงก็ถึงขั้นฟ้องร้องดำเนินคดีกันจากคำวิจารณ์ในโลกออนไลน์
ขณะที่ผู้ชมกระตุ้นดราม่าด้วยการโพสท์ความเห็นแรง ๆ ทีมงานก็จะถูกมองว่าพวกเขาซับซ้อนด้วยการทำให้พฤติกรรมผู้เข้าร่วมรายการเป็นแบบนั้นแบบนี้จากการตัดต่อ หรือที่ได้ยินกันว่า “ตัดต่อแบบแกง” เพื่อสร้างสตอรี่ให้ผู้ร่วมรายการคนนั้น “เป็นคนไม่ดี”
เช่นเดียวกับรายการ “Culinary Class Wars” ของ Netflix ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เป็นรายการเกาหลีรายการแรกที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษแต่ติดท็อปชาร์ตทั่วโลกของ Netflix 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งได้กระแสส่วนใหญ่มาจากผู้เข้าแข่งขันในรายการ ถึงจะประสบความสำเร็จแต่ Netflix ก็ยังเพิกเฉยต่อการที่ผู้เข้าแข่งขันถูกโจมตี
เมื่อถูกถามว่าทางบริษัทจะมีการปกป้องผู้ร่วมรายการที่ไม่ใช่คนดังหรือไม่ Netflix ตอบแบบคลุมเครือว่า “เราจะใช้วิธีที่จำเป็นในการปกป้องผู้เข้าแข่งขันเท่าที่จะทำได้”
Netflix ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเรื่องซอนกยองหรือผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ที่ถูกคอนเม้นท์โจมตีทางโลกออนไลน์
รายการ ‘I Am Solo’ ยังคงเผชิญกับการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง
ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา รายการ “I Am Solo” ยังคงถูกคอมเม้นท์โจมตี เพราะแต่ละซีซั่นของรายการมักจะมี “ตัวร้าย” คนใหม่ที่กระตุ้นให้เกิดกระแสเกลียดชังบนโลกออนไลน์ บางเคส ผู้เข้าร่วมรายการก็ออกมาพูดว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงแค่ที่นำเสนอในรายการ แตกต่างจากชีวิตจริง
“ฉันไม่เคยด่าใครนะ แต่ทีมงานตัดต่อโดยดูดเสียงไปให้เหมือนว่าฉันด่าคำหยาบออกมา” ผู้เข้าร่วมรายการคนหนึ่งบ่น
ผู้เข้าร่วมรายการอีกคนเผยว่าการถูกตัดต่อให้เป็นผู้หญิงแปลก ๆ ในรายการทำลายชีวิตเธอแค่ไหน
“ฉันออกไปข้างนอกไม่ได้เลย สำหรับเงิน 4 แสนวอนในแต่ละตอน พวกเขาก็ทำแค่ขับรถพาแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างฉันไปนั่นนี่แต่ให้ได้กำไรค่ะ” เธอกล่าว
อดีตผู้เข้าร่วมรายการบางคนพูดว่ารายการเหมือน “ประกวดดาวร้ายทั่วประเทศ” โดยให้ความสำคัญกับเรื่องดราม่ามากกว่าการนำเสนออารมณ์และความสัมพันธ์ของผู้ร่วมรายการ
ถึงจะมีความกังเวลเกี่ยวกับรายการมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทีมงานก็ยังไม่มีการออกมาตอบสิ่งใดมากนัก เมื่อถามถึงคอมเม้นท์แย่ ๆ ในโลกออนไลน์ ผู้ผลิตอย่างนัมคยูฮงตอบนิดเดียวว่าเขาผิดหวัง
“สิ่งที่ผมทำได้คือให้กำลังใจผู้ร่วมรายการให้อดทนกับมันครับ” เขากล่าว
การเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง
นักวิจารณ์วัฒนธรรมพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าทีมงานควรปกป้องผู้เข้าร่วมรายการ
ฮาแจกึน นักวิจารณ์วัฒนธรรมบอกว่าเรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น
“เราเคยเห็นผู้ร่วมรายการที่ไม่ใช่คนดังในรายการเรียลลิตี้ ต้องเผชิญกับความรุนแรงทางการโจมตีในโลกออนไลน์ บางคนถึงขั้นฆ่าตัวตาย มีการเรียกร้องให้ทีมงานปกป้องผู้เข้าร่วมรายการซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ทีมงานก็ยังสร้างตัวร้ายในรายการเพื่อเรตติ้ง” เขากล่าว
ฮาแจกึนยังวิพากษ์วิจารณ์ทีมงานที่ความคิดล้าสมัยว่า
“ทีมงานติดหล่มอยู่ในความคิดสมัยปี 2000 แต่รายการเรียลลิตี้ มันต้องนำเสนอออกสู่สายตาประชาชน มันสามารถดูย้อนได้ และรายการก็สามารถตัดต่อได้ก่อนออกอากาศ ผู้ร่วมรายการต้องถูกข่มขู่หลายปี พวกเขาไม่สามารถควบคุมคาแร็คเตอร์ตัวเองในรายการได้
คิมฮอนชิก อีกหนึ่งนักวิจารณ์สวัฒนธรรมอีกคนเรียกร้องให้เปลี่ยนวิธีผลิตรายการ เรียลลิตี้
“ทีมงานควรแจ้งผู้ร่วมรายการว่าจะนำเสนอตัวผู้เข้าร่วมรายการอย่างไรก่อนรายการออกอากาศ และทีมงานจะรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงการถูกคอมเม้นท์แย่ ๆ ในโลกออนไลน์ จำเป็นต้องมีกฎใหม่ในการกำกับดูแลเพื่อให้ทีมงานรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น” เขากล่าว
ถึงจะมีความหวังริบหรี่ แต่ก็มีสัญญาณว่าทีมงานบางส่วนเริ่มมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
เดือนกรกฎาคมปี 2024 ทีมงานเบื้องหลังรายการเดทอย่าง “My Sibling’s Romance” ของช่อง JTBC ได้นำหน้าทีมงานรายการอื่น ๆ ไปหนึ่งก้าว กับสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน พวกเขาออกมาแถลงอย่างเป็นทางการ หลังจากมีผู้เข้าร่วมรายการถูกโจมตีด้วยข่าวลือและความเห็นแย่ ๆ
“เราจะดำเนินการกระทำที่เด็ดขาดต่อพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามที่ทำลายชื่อเสียงผู้เข้าร่วมรายการ” ทีมงานเผยว่ากำลังปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อรวบรวมหลักฐานผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จ
หลังจากออกแถลงการณ์ JTBC เผยว่าคอมเม้นท์ต่อว่าผู้เข้าร่วมรายการนั้นลดลง ทีมงาน JTBC บอกว่า “เพราะเราแจ้งชัดเจนว่าจะดำเนินคดีทางกฎหมาย คอมเม้นท์เกลียดชังเลยลดลงเยอะมาก”
จากเคสของ “My Sibling’s Romance” ทำให้เห็นถึงความหวังเล็ก ๆ ในการเปลี่ยนแปลงของทีมงานรายการ Reality ที่จะจัดการปัญหาการโดนโจมตีทางโลกออนไลน์
แต่รายการ “Culinary Class Wars” และ “I Am Solo” ยังคงถูกคอมเม้นท์ด่าทอผู้เข้าร่วมรายการต่อไป เพราะการตัดต่อเล่าเรื่องราวของ “ตัวร้าย” เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมรายการเรียลลิตี้จะยังคงทำแบบนี้ไปอีกนาน