การจะใช้ชีวิตร่วมกันโดยมีผลทางกฎหมายต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ไปจดทะเบียนได้ที่ไหน อายุเท่าไหร่ถึงจดทะเบียนได้

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

– จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับ

อนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง

– ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

– ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา

– ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

– ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้

– หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

* คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

* สมรสกับคู่สมรสเดิม

* มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

* ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้

* ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส

– บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

– สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ

– หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล

(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)

– สำเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส

– การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ คู่สมรส

– คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดย

ไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส

– คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม

– คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด

หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการ

อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

ค่าธรรมเนียม

การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสีย

ค่าธรรมเนียน 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง นายทะเบียน การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล

เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

ขอขอบคุณS! MEN ผู้สนับสนุนเนื้อหา