คลิก!!!

ในโลกที่มีแต่การแข่งขันมีคนกลุ่มหนึ่งเริ่มหันไปใช้ชีวิตแบบเนิบช้า ใช้เวลารื่นรมย์กับธรรมชาติมากขึ้น ในบ้านเราก็เริ่มมีบ้างแต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นกระแสมาแรงอะไร

เมื่อ วันก่อนอ่านข้อเขียนในเฟซบุ๊กของ กวิน ชุติมา ได้เขียนเรื่องนี้อย่างน่าสนใจ เขาเล่าให้ฟังว่าที่ญี่ปุ่นตื่นตัวกับเรื่องนี้มากโดยเฉพาะที่มืองคาเคะงาวะ จังหวัดชิซูโอกะ โดยชาวเมืองได้ประกาศตัวว่าพวกเขาอยากจะเป็นเมือง Slow Life City ถึงขั้นเรียกร้องให้รัฐบาลหาทางออกให้พวกเขาได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างเรียบ ง่ายในแบบ "Slow Life" ซึ่งรัฐบาลก็สนองตอบด้วยการประกาศให้เมืองเล็กๆ บางเมืองนำวิธีการใช้ชีวิตแบบแช่มช้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสำคัญและได้ ออกบทบัญญัติการใช้ชีวิตแบบเนิบช้า 8 ข้อ ดังนี้

ข้อแรก คือ การสร้างจังหวะชีวิตให้ช้าลง "Slow Pace" ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาเดินแทนการใช้รถยนต์ ซึ่งนอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการจราจรด้วย

ข้อ สอง "Slow wear" รณรงค์ให้ประชาชนสวมใส่เสื้อผ้าพื้นเมืองที่มาจากวัสดุในท้องถิ่นจะได้ไม่ ต้องเสียค่าขนส่งและยังช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชน อีกทั้งยังรักษาเอกลักษณ์ของประเทศไว้ด้วย

ข้อสาม "Slow Food" รับประทานอาหารญี่ปุ่นที่ปรุงด้วยวัตถุดิบตามฤดูกาล ปฏิเสธอาหารจานด่วนที่ก่อให้เกิดผลเสีย ต่อสุขภาพ

ข้อสี่ "Slow House" อยู่บ้านแบบญี่ปุ่นโบราณ ใกล้ชิดธรรมชาติและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

ข้อ ห้า "Slow Industry" รณรงค์ให้ประชาชนดูแลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การทำฟาร์มหรืออุตสาหกรรมจะต้องไม่ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมของเมือง

ข้อ หก "Slow Education" เป็นการให้ความสำคัญกับการ เรียนรู้ทางศิลปะ วิถีชีวิตแห่งวัฒนธรรมญี่ปุ่น และเน้นการมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนมากกว่าความเป็นเลิศทางการศึกษา

ข้อเจ็ด "Slow Aging" คือการมุ่งไปสู่การมีชีวิตที่ยืนยาวด้วยวิถีธรรมชาติ

ข้อสุดท้าย "Slow Life" เป็นการดำเนินชีวิตอย่างแช่มช้า ตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว ทั้งหมดเพื่อวิถีชีวิตที่ดีขึ้น

นับ ว่าเป็นเรื่องแปลกไม่น้อยที่อยู่ๆ พลเมืองญี่ปุ่น ซึ่งถือได้ว่ามีวิถีชีวิตเร่งรีบบ้างานถึงขั้น "Workahollic" กลับหลังหันชนิด 360 องศาเลยทีเดียว

เห็นบ้านเขาแล้วเมื่อไหร่บ้านเราจะมีตัวอย่างดีๆ อย่างนี้บ้าง ไม่รู้ว่าต้องร้อง "คสช." หาทางออกให้หรือเปล่า

ทวี มีเงิน

cr.http://www.khaosod.co.th