“… ความจริงนั้นร้ายแรงกว่านั้น”

คลิก!!!

ละครเกาหลียอดนิยมเรื่องล่าสุดของ Netflix “The Glory” ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจเกี่ยวกับปัญหาการรังแกกันในโรงเรียนของเกาหลีใต้มากขึ้น แม้ว่าละครจะโฟกัสไปที่ผู้หญิงคนหนึ่งที่หาทางแก้แค้นผู้ที่เคยทรมานเธอทั้งจิตใจและร่างกายของเธอ อาทิ จี้ผิวหนังด้วยที่ม้วนผมและเตารีด…ในสมัยที่เรียนชั้นมัธยม

เรื่องราวใน The Glory สร้างจากเรื่องจริงที่น่ากลัวยิ่งกว่า

แม้ว่านักเรียนที่กระทำผิดจะหลีกหนีจากสิ่งที่พวกเขาทำในสมัยเรียนได้ แต่การกระทำของพวกเขาอาจส่งผลต่ออนาคตของพวกเขา เช่นเดียวกับดาราเกาหลีจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากข้อกล่าวหาเรื่องการกลั่นแกล้งในโรงเรียน

อีแจยอง (Lee Jae Yeong) และ อีดายอง (Lee Da Yeong) ถูกกล่าวหาว่าเคยกลั่นแกล้งเพื่อนในโรงเรียนขณะที่พวกเธอกำลังอยู่ในจุดสูงสุดของอาชีพการงาน และในที่สุดทั้งสองก็ถูกถอดออกจากทีมวอลเลย์บอลทีมชาติเกาหลี

ถึงกระนั้นก็ตาม การกลั่นแกล้งยังคงแพร่หลายในโรงเรียน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นเพราะมาตรการการป้องกันบางอย่างที่ไม่ได้ผล เช่น คณะกรรมการป้องกันการทำผิดในโรงเรียนที่เข้าแทรกแซงในบางสถานการณ์เท่านั้น และดำเนินการโดยสมาชิกที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย

ในวิดีโอล่าสุดจาก Asian Boss ผู้ใหญ่ชาวเกาหลีหลายคนได้แบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขาเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียน โดยพวกเขาอธิบายว่าแม้ว่าเรื่องนี้จะยังเป็นประเด็นที่รุนแรง แต่ลักษณะการกลั่นแกล้งก็เปลี่ยนไปบ้างจากเหตุการณ์ที่เล่าในละครเรื่อง The Glory โดยทั่วไปแล้วพวกเขาเห็นพ้องต้องกันว่าการกลั่นแกล้งที่แสดงในละครนั้นถูกต้องตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ เว้นแต่ว่าความเป็นจริงจะรุนแรงกว่านั้นมาก

สิ่งหนึ่งที่พบได้บ่อยในการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนตอนนี้คือการเน้นไปที่ “การรังแกกันทางจิตใจ” แม้ว่าจะมีกรณีความรุนแรงทางร่างกายที่ยังคงเกิดขึ้นมากมายก็ตาม

เนื่องจากนักเรียนที่ชอบรักแกผู้อื่นรู้ว่าสิ่งที่พวกเขาทำอาจส่งผลต่ออนาคตของพวกเขา หลายคนจึงระมัดระวังมากขึ้นโดย “หลีกเลี่ยงการทิ้งหลักฐานใด ๆ”

ดังนั้น แทนที่จะรังแกใครสักคนด้วยการลงไม้ลงมือกับพวกเขา คนรังแกมักจะ “ข่มเหงเหยื่อ [ของพวกเขา]” มากกว่า ซึ่งอาจรวมถึงการพูดคุยเกี่ยวกับกลุ่มแชทหรือแผนการที่ไม่ให้เหยื่อรู้ตัว ซึ่งเป็นวิธีที่ “ละเอียดอ่อน” กว่าในการทำให้พวกเขาเจ็บปวดทางจิตใจ

วิธีการที่ “ละเอียดอ่อน” ที่ว่านี้อาจทำให้เหยื่อรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งพยานและเหยื่อเองก็ยังไม่แน่ใจว่ามีการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งที่พวกเขาคิดไปเอง

ในทำนองเดียวกัน เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า การกลั่นแกล้งก็เกิดขึ้นบ่อยขึ้นทางออนไลน์ เช่น การแชทเป็นกลุ่มที่เหยื่ออาจถูกกีดกัน หรือในบางกรณีอาจถูกบังคับให้เข้าร่วมเมื่อถูกรังแก

ท้ายที่สุด ผู้คนต่างหวังว่าจะมี “วิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจน” เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งที่อาจจะรุนแรงขึ้นในอนาคต

ที่มา Asian Boss