Netflix

“เมื่อก่อน ฉันได้รับการเสนอบทเข้ามาเยอะมาจนต้องบอกว่า ‘ให้ฉันได้พักบ้างเถอะ’ หรือไม่ก็ ‘ฉันแค่อยากพัก’ แต่ตอนนี้ข้อเสนอลดน้อยลงมาก ฉันเลยเพิ่งรู้ว่าการได้รับการเสนอบทมานั้นมีค่ามากแค่ไหน”

คิมฮานึล (Kim Ha Neul) ได้พูดถึงสถานการณ์ปัจจุบันของวงการบันเทิงเกาหลี

คลิก!!!

Kim Ha Neul

ตอนนี้วงการสื่อเกาหลีเข้าสู่ช่วงวิกฤต คนในวงการแสดงออกถึงความรำส่ำระส่าย โดยอ้างว่า Netflix เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดเรื่องนี้ 

“เรากำลังเจอสถานการณ์ที่แย่ที่สุดในรอบ 10 ปี” 

คนในวงการบันเทิงเกาหลีบางคนกล่าวหลังจากที่สตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix เข้ามามีส่วนแบ่งสำคัญในวงการ 

การที่ Netflix ทุ่มทุนสร้างซีรีส์ ทำให้มีการลดจำนวนซีรีส์ลง ส่งผลกระทบต่อนักแสดงโดยตรงเพราะงานของพวกเขานั้นลดน้อยลงด้วย

คิมฮานึล ได้พูดในช่อง YouTube ช่องหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ว่า 

“ตอนนี้แค่ได้รับการเสนอบทมาก็รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่มีค่ามากเลยค่ะ”

นักแสดงโกฮยอนจอง (Go Hyun Jung) แสดงความกังวลแบบเดียวกัน

“ฉันไม่ได้รับการเสนอบทอะไรเลยในตอนนี้ ไม่ต้องเป็นบทนำก็ได้ และฉันก็เต็มใจลดค่าตัวของฉันลงด้วย” 


จำนวนการผลิตซีรีส์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จาก 135 เรื่อง ในปี 2022 ไปอยู่ที่ 125 เรื่องในปี 2023 ซึ่งมีการคาดว่าจำนวนจะลดลงน้อยกว่า 100 ในปี 2024 วงการภาพยนตร์กำลังได้รับผลกระทบหนัก มีรายงานว่ามีภาพยนตร์ที่ถ่ายทำเสร็จแล้วกว่า 100 เรื่องที่ยังไม่ได้เข้าฉาย

ปี 2023 รายได้จากการออกอากาศลดลง 4.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่าลดลง 1.897 ล้านล้านวอน นี่ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี รายได้ของช่องโทรทัศน์สาธารณะลดลง 10.2%, เคเบิ้ลทีวีลดลง 3.9%, โฮมช้อปปิ้งลดลง 5.9% และรายได้ของผู้ผลิตรายการลดลง 7.7%

ตลาดการออกอากศภายในประเทศโตติดลบในรอบ 10 ปี ผู้เชี่ยวชาญในวงการเตือนว่าวงการบันเทิงอยู่ในระยะอันตรายที่พร้อมจะล้มลงได้ทุกเมื่อ

Netflix

ระหว่างงานสัมมนาหัวข้อ ‘สาเหตุและการแก้ปัญหาวิกฤตตลาดออกอากาศ’ เมื่อวันที่ 26-27 กันยายน โดยสมาคมการศึกษาด้านวารสารศาสตร์และการสื่อสารแห่งเกาหลี, สมาคมการออกอากาศแห่งเกาหลี และสมาคมนโยบายสื่อแห่งเกาหลี ได้ประกาศว่า ‘ตลาดสื่อในประเทศกำลังตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน’

อาจารย์อีฮอนยูล จากมหาวิทยาลัยเกาหลีได้อธิบายว่า

“งบการผลิตมหาศาลที่มาจากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการออนไลน์อย่าง Netflix กดดันให้ช่องโทรทัศน์ลดจำนวนการผลิตคอนเท้นท์เพื่ออยู่รอด ทำให้เกิดการลดจำนวนซีรีส์อย่างเห็นได้ชัด และมีแค่นักแสดงไม่กี่คนที่ได้ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ยังสามารถทำเงินได้”

 

อาจารย์ อีซังวอน จากมหาวิทยาลัยคยองฮี แสดงความกังวลเช่นกัน 

“อิทธิพลของ Netflix ทำให้รายได้ของการออกอากาศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตนั้นสูงขึ้น การล้มลงของระบบนิเวศน์ของการออกอากาศจะทำให้เกิดผลกระทบและวิกฤตต่อกระแสฮันรยู”

ผู้เชี่ยวชาญยังบอกว่าควรจะจัดการความไม่สมดุลที่เกิดจากแพลตฟอร์มระดับโลก และเร่งให้มีการลดกฎเกณฑ์ให้กับช่องโทรทัศน์ในประเทศ ส่วนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Netflix ควรได้รับการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในวงการ


ชาวเน็ตเกาหลีเข้ามาแสดงความคิดเห็น เช่น

“คนธรรมดาคิดว่าการที่ค่าตัวของนักแสดงสูงขึ้นทำให้ผลิตซีรีส์ได้ลำบาก แต่พวกเขาพูดตรงข้ามเลย Netflix เป็นคนขึ้นค่าตัวเหรอ ไม่ใช่นักแสดงขึ้นค่าตัวกันเองเหรอ?”

“ก่อนอื่น ต้องพูดถึงการลดคาตัวของดาราตัวท็อปก่อน พวกเขาได้เงินเป็นล้านแค่การปรากฏตัวนิดเดียว พวกเขาคิดว่าพวกเขามีค่าขนาดนั้นจริงเหรอ? หยุดโทษ Netflix และเข้าใจก่อนว่าปัญหาจริงๆมาจากอะไร ฉันขอแสดงความคิดเห็นว่าค่าตัว 100 ล้านวอนต่อตอนมันมากเกินไป”

“นักแสดงนั่นแหละเป็นคนทำให้งบการผลิตสูงขึ้น แล้วนี่พวกคุณมาพูดเรื่องอะไรกัน”

“เวลาเข้าไปในแพลตฟอร์มอย่าง Netflix, TVING และ Wavve ก็มีแต่ซีรีส์ที่งั้นๆอ่ะ คิดว่าช่องหลักและช่องเคเบิ้ลยังทำซีรีส์ได้ดีกว่า ถ้าจำนวนการผลิตลดลง คือจะเทียบกับจำนวนก่อนหน้าจริงเหรอ ถ้าลองเน้นลดจำนวนแล้วเพิ่มคุณภาพดีกว่าไหม ลองลดจำนวนซีรีส์ที่เรตติ้งไม่ดีหรือไม่มีอะไรน่าสนใจดู เอาทรัพยากรตรงนั้นมาทุ่มให้กับเรื่องเดียวที่มีแนวโน้มปังไม่ดีกว่าเหรอ”

“พวกเขายังซื้อตึกกับอพาร์ทเม้นท์ราคาเป็นหลายสิบล้านอยู่เลย สิ่งสุดท้ายที่โลกนี้ต้องคิดถึงน่าจะเป็นดารากับนักการเมืองนี่แหละ ไม่ต้องห่วงหรอก พวกเขายังสบายกันแหละ”

“คงรู้สึกดีที่แบบได้จัดอันดับนักแสดงรายได้สูง คงให้ความรู้สึกแบบเป็นนักแสดงที่ไม่มีใครแทนที่ได้ แต่เอาจริง ไม่มีใครมีหน้าที่ควบคุมเรื่องค่าตัวพวกนี้เหรอ?”

“Netflix ต้องทำอะไรเหรอ? ถ้าแค่พระเอกนางเอกลดค่าตัว ปัญหาก็หมดไปแล้วป่ะ”

“ก่อนจะมี Netflix ปัญหาค่าตัวนักแสดงก็มีอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ”

“ลดค่าตัวก่อนจ๊ะสาว”


ที่มา  naver