“อะโวกาโด” ไม้ผลที่ให้คุณค่ามากมาย แต่น่าเสียดายความนิยมยังน้อย
2014-10-26 16:15:40
Advertisement
Pyramid Game

“อะโวกาโด” ไม่ใช่ไม้ผลของไทย แต่จากข้อมูลระบุว่า มิชชันนารีชาวอเมริกัน นำเข้ามาปลูกที่จังหวัดน่าน เมื่อ ปี 2507 อีกทั้ง ดร. อัญเชิญ ชมภูโพธิ์ หัวหน้าสถานีฝึกนิสิตเกษตรปากช่อง ยังได้นำพันธุ์อะโวกาโด (Persea americana Mill.) จากมลรัฐฮาวาย จำนวน 9 สายพันธุ์ เข้ามาปลูกที่สถานีฝึกนิสิตเกษตรปากช่อง (สถานีวิจัยปากช่อง)

ต่อมา ในปี 2518 ได้นำพันธุ์อะโวกาโดมาปลูกอีก จำนวน 14 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ บูช 7 (Booth-7) บูช 8 (booth-8) แคทาลีนา (Catalina) โชเควท (choquette) ฟุค (Fuchs) ฮอลล์ (Hall) แฮสส์ (Hass) ลูลา (Lula) มอนโร (Monroe) เนเดียร์ (Nadir) ปีเตอร์สัน (Peterson) ซิมเมอร์ (Simmonds) เทเลอร์ (Taylor) และพันธุ์วอลดิน (Waldin)

 

ปัจจุบัน สถานีวิจัยปากช่อง ยังคงรวบรวมพันธุ์อะโวกาโดไว้ เพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในการคัดเลือกพันธุ์ ทดสอบพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต สำหรับตอบปัญหาให้กับเกษตรกรเกี่ยวกับพันธุ์ที่เหมาะสมที่จะปลูกในสภาพอากาศของประเทศไทยในแต่ละพื้นที่

ความจริงไม้ผลที่มีเปลือกสีเขียวมีรูปร่างผลคล้ายสาลี่ หรือรูปไข่ จนถึงรูปกลมชนิดนี้ จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับกระวาน อบเชย เบย์ลอเรล เป็นที่นิยมรับประทานกันมากในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา เพราะมีสารอาหารที่ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก


ด้วยความที่ อะโวกาโด มีเนื้อเป็นมันเนย รสชาติจืด หารับประทานยากและมีราคาแพง จึงไม่เป็นที่โปรดปรานของบรรดานักชิมไม้ผลในประเทศไทยเท่าใดนัก แต่ระยะหลังกลับพบว่ากระแสความนิยมบริโภคอะโวกาโดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เหตุผลส่วนหนึ่งอาจมาจาก พบว่าเป็นไม้ผลที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย และบางสำนักด้านอาหารยกให้อะโวกาโดเป็น “อาหารเพื่อสุขภาพ” เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย หรือมองอีกลักษณะหนึ่งการรับประทานอะโวกาโดควรให้ความสำคัญกับประโยชน์และคุณค่ามากกว่าความอร่อยจากรสชาติด้วยเหตุนี้ทำให้คนไทยหันมารับประทานอะโวกาโดกันมากขึ้น


ที่มา  มติชนออนไลน์

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X