รู้ทัน'เฟซบุ๊ค'แชร์ข้อมูลอย่างมีสติ
2012-05-06 10:37:09
Advertisement
Pyramid Game

กลุ่มเฝ้าระวังสหรัฐออกรายงานชี้ทางสว่างผู้ใช้ชี้โปรแกรมโซเชียลเน็ตเวิร์คยอดนิยมดึงข้อมูลไปใช้อย่างแยบยล อาจสร้างความเสียหายโดยไม่รู้ตัว
แม้ฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐ จะยับยั้งนายจ้างไม่ให้ขอพาสเวิร์ดเฟซบุ๊คจากพนักงานได้ แต่ข้อมูลต่อไปนี้ ที่ส่วนใหญ่ละเอียดอ่อนและมีศักยภาพในการสร้างความเสียหายได้สูง สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตพิเศษ
•ผู้ใช้ 4.7 ล้านคนกด”ไลท์”หน้าเฟซบุ๊คที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยและการรักษา (รายละเอียดที่บริษัทประกันอาจใช้ในการปฏิเสธการรับประกัน หรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้)
•ผู้ใช้ 4.8 ล้านคนใช้เฟซบุ๊คเพื่อบอกสถานที่ และเวลาที่กำลังจะไป (บอกใบ้ให้หัวขโมยรู้)
•ผู้ใช้ 20.4 ล้านคนโพสต์วันเกิด ที่โจรขโมยอัตลักษณ์ชอบ
•ผู้ใช้ 39.3 ล้านคน ระบุสมาชิกครอบครัวไว้ในโปรไฟล์ของตัวเอง
•ผู้ใช้ 900,000 คนถกกันเรื่องเงินๆทองๆบนหน้าวอลล์
•ผู้ใช้ 1.6 ล้านคนกด “ไลท์” หน้าเพจองค์กร/หน่วยงานทางด้านชาติพันธุ์หรือเชื้อชาติ
•ผู้ใช้ 2.3 ล้านคนกด “ไลท์”หน้าเพจที่เกี่ยวกับเพศ
•ผู้ใช้ 7.7 ล้านคนกด “ไลท์”หน้าเพจขององค์กร/หน่วยงานทางด้านศาสนา
•ผู้ใช้ 2.6 ล้านคนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องแอลกอฮอล์เพื่อสันทนาการบนหน้าวอลล์ของตัวเอง
•ผู้ใช้ 4.6 ล้านคนคุยกันเรื่องชีวิตรักของตัวเองบนหน้าวอลล์
คอนซูเมอร์ รีพอร์ต “สืบค้นข้อมูลจากเฟซบุ๊ค” เพื่อจัดทำรายงานชิ้นนี้ และสัมภาษณ์ผู้คนที่เกี่ยวข้องกว่า 24 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ทนายความเรื่องความเป็นส่วนตัว นักพัฒนาแอพ และเหยื่อที่ถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย โดยขุดลึกเข้าไปการวิจัยของภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน รวมถึงการควบคุมและนโยบายที่สลับซับซ้อนของเฟซบุ๊ค นอกจากนี้ ยังได้สำรวจครอบครัวที่ออนไลน์ 2,002 ครอบครัว โดย 1,340 ครอบครัวเล่นเฟซบุ๊ค
คอนซูเมอร์ รีพอร์ต พบว่า ต้นตอของปัญหานี้ มีที่มาหลักๆ 5 สาเหตุคือ 1 การไม่ใช้เครื่องมือควบคุมความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้เฟซบุ๊คเกือบ 13 ล้านคน บอกว่า พวกเขาไม่ได้ตั้งค่า หรือไม่รู้เกี่ยวกับเครื่องมือความเป็นส่วนตัวของเฟซบุ๊คเลย และ 28% แชร์ข้อมูลทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดบนหน้าวอลล์ให้กับคนอื่นๆ นอกเหนือจากเพื่อนดู 2. เฟซบุ๊คเก็บข้อมูลมากกว่าที่จะจินตนาการออก ตัวอย่างเช่น จะมีกี่คนที่รู้ว่าเฟซบุ๊คได้รับรายงานทุกครั้งที่มีผู้ใช้เข้าเวบไซต์ที่มีปุ่ม”ไลค์”ของเฟซบุ๊ค แม้ว่าจะไม่ได้กดปุ่มไลค์ ไม่ใช่ผู้ใช้เฟซบุ๊ค หรือไม่ได้ล็อกอินก็ตาม
3.ข้อมูลของผู้ใช้ถูกแชร์ออกไปอย่างกว้างขวางมากกว่าที่ผู้ใช้ต้องการ แม้ว่าจะจำกัดให้เฉพาะเพื่อนเท่านั้นเห็นข้อมูล แต่อย่าลืมเพื่อนคนที่ใช้แอพเฟซบุ๊คส่งผ่านข้อมูลของผู้ใช้ไปยังบุคคลที่สามได้โดยที่ตัวผู้ใช้เองก็ไม่รู้ตัว 4.การป้องกันทางกฎหมายที่ยังไม่ได้มาตรฐาน กฎหมายป้องกันความเป็นส่วนตัวออนไลน์ของสหรัฐอ่อนกว่ายุโรปและประเทศอื่นๆในโลก ดังนั้น ผู้ใช้มีสิทธิตามกฎหมายของรัฐบาลกลางเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ในการควบคุมดูแลข้อมูลส่วนใหญ่ที่โปรแกรมโซเชียล เน็ตเวิร์กทั้งหลายเก็บไป
5.ปัญหาเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ครอบครัวที่เล่นเฟซบุ๊ค 11% บอกว่า เจอปัญหานี้มาตั้งปีที่แล้ว ตั้งแต่มีคนแอบใช้ล็อกอินโดยไม่ได้รับอนุญาตไปจนถึงการถูกก่อกวน หรือข่มขู่ โดยคิดเป็นจำนวนราว 7 ล้านครอบครัว ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว 30%
แม้ในรายงาน”คอนซูเมอร์ รีพอร์ต” จะบันทึกถึงความพยายามของเฟซบุ๊คในการทำให้การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวทำได้ง่ายขึ้น ปรับปรุงระบบความปลอดภัย รวมถึงการยุติข้อกล่าวหาจากคณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลาง และเสนอให้มีการตรวจสอบบัญชีอย่างอิสระในอีก 20 ปีข้างหน้า
แต่กลุ่มเฝ้าระวัง ก็ยังเรียกร้องให้เฟซบุ๊คสนับสนุนกฏหมายที่ชื่อ" Cyber Intelligence Sharing and Protection Act" ซึ่งเจ้าตลาดโซชียล เน็ตเวิร์คแห่งนี้ จะต้องสมัครใจแชร์ข้อมูลของตัวเองกับรัฐบาล ซึ่งเจฟฟ์ ฟอกซ์ บรรณาธิการเทคโนโลยีของคอนซูเมอร์ รีพอร์ต มองว่า การบริหารจัดการเรื่องความเป็นส่วนตัวของเฟซบุ๊คส่วนใหญ่เป็นการตั้งรับมากกว่าการทำงานในเชิงรุก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com
onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X