พิธีพืชมงคลฯ พระโคเลือกกินข้าว-ข้าวโพด-งา-น้ำ-หญ้า-เหล้า คำนายน้ำท่าอุมดมสมบูรณ์
2016-05-09 22:32:27
Advertisement
Pyramid Game

เมื่อเวลา 08.40 น. วันที่ 9 พ.ค. ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปยังพลับพลาพิธีท้องสนามหลวง พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2559 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนหก เนื่องจากเป็นระยะที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นทำนาที่เป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย เพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่เกษตรกรไทย ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ข้าราชการ เกษตรกร และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียง


โดยปีนี้นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทอง ได้แก่ น.ส.อมรรัตน์ แขวงโสภา นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และว่าที่ร.ต.หญิงณฐมน อยู่เล่ห์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กรมชลประทาน สำหรับเทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ น.ส.นันทินี ทองคงเหย้า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร และน.ส.ฉมาพันธ์ สุพรมอินทร์ นักวิชาการตรวจสอบบัญชีปฏิบัติการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สำหรับพระโคที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีฯ นั้น กรมปศุสัตว์ได้เตรียมพระโคไว้ 2 คู่ ปีนี้พระโคแรกนา ได้แก่ พระโคเพิ่ม และพระโคพูล ส่วนพระโคสำรอง ได้แก่ พระโคพอ และพระโคเพียง


ทั้งนี้ ในปีนี้เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่นำเข้าในพระราชพิธีมีน้ำหนักรวมทั้งสิ้น 2,667 กิโลกรัม ประกอบด้วย ข้าวนาสวน 7 พันธุ์ ได้แก่ปทุมธานี 1 , สังข์หยดพัทลุง , ขาวดอกมะลิ 105 , กข 57 , กข 41 , กข 61, กข 6 และข้าวไร่ 3 พันธุ์ ได้แก่ ดอกพะยอม,ซิวแม่จัน และลืมผัว ส่วนหนึ่งใช้หว่านในระหว่างพิธี และจัดเป็นพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทานบรรจุใส่ซองขนาดเล็กเพื่อจัดส่งให้จังหวัดต่าง ๆ สำหรับใช้แจกจ่ายเกษตรกรรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพ และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือทั้งหมด กรมการข้าวขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำไปปลูกไว้ทำพันธุ์ในฤดูกาลปี 2558 เพื่อเป็นต้นตระกูลของพืชพันธุ์ดีเผยแพร่สู่เกษตรกรต่อไป


ในส่วนของการเสี่ยงทายในพระราชพิธีฯ ประกอบด้วย 2 ช่วงคือ ช่วงแรกพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบนุ่งทับผ้านุ่งเดิมนั้นเป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาหยิบ


ผลการเสี่ยงทายในปีนี้ พระยาแรกนาได้ตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายหยิบผ้านุ่งแต่งกายได้ ห้าคืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ส่วนช่วงที่สองเป็นการไถหว่านซึ่งจะเป็นการไถดะไปโดยรี 3 รอบ เพื่อพลิกดินให้เป็นก้อน ไถโดยขวาง 3 รอบ เพื่อย่อยดินให้ละเอียดพร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์พืช และไถกลบอีก 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดพันธุ์พืชลงในดิน เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการไถแล้วเป็นการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่งตั้งเลี้ยงพระโค ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำและหญ้า ซึ่งพระโคเลือกกินข้าว ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี พระโคกินงา พยากรณ์ว่าผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี พระโคกินน้ำและหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี พระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง


อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ยังเป็น “วันเกษตรกรประจำปี” มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกรดีเด่น และปราชญ์เกษตรเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้แก่ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 ราย อาชีพทำนา ได้แก่ นายสันทัด วัฒนกูล จ.อุทัยธานี อาชีพทำสวน ได้แก่ นายอุดม วรัญญูรัฐ จ.จันทบุรี อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายดิลก ภิญโญศรี จ.ชัยภูมิ อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายทอง หลอมประโคน จ.บุรีรัมย์ อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางอนงค์ ศรีไชยบาล จ.ร้อยเอ็ด อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายสมบัติ บุญถาวร จ.กระบี่ อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายชนธัญ นฤเศวตานนท์ จ.ยะลา อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายอนุสรณ์ พงษ์พานิช จ.ประจวบคีรีขันธ์ อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายหนูเคน ทูลคำรักษ์ จ.บุรีรัมย์ อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายอำนวย เตชะวรงค์สกุล จ.นครปฐม สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นายสุริยะ ชูวงศ์ จ.เพชรบุรี สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายพัฒน์พงษ์ มงคลกาญจนคุณ จ.กาญจนบุรี สาขาการใช้วิชาการเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ นายนิโรจน์ แสนไชย จ.ลำพูน ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายสมสุข เพชรกาญจน์ จ.สงขลา สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายสิทธิศักดิ์ พันธุ์พิริยะ จ.ตราด สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายบัณฑิต กูลพฤกษี จ.ตราด


สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 13 สถาบัน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านร้องประดู่ จ.อุตรดิตถ์ กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนควนเมา จ.ตรัง กลุ่มเกษตรกรทำไร่ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำไร่โป่งน้ำร้อน จ.เชียงใหม่ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงหมูหลุมครบวงจรบ้านกะทม จ.สุรินทร์ กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนชมรมปลาเชียงราย จ.เชียงราย กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาบ้านห้วยบง 2 จ.หนองบัวลำภู

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสร้างแป้น จ.ยโสธร กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี จ.สกลนคร วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ จ.ชัยนาท สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานเกษตรสมบูรณ์ จ.สกลนคร กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านโพนแพง จ.กาฬสินธุ์ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านดงลิง จ.กาฬสินธุ์ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนประเภทข้าวอื่นๆ ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลงิ้วราย จ.พิจิตร

สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 สหกรณ์ ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทองจำกัด จ.กำแพงเพชร สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์นิคมแม่แตงจำกัด จ.เชียงใหม่ สหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณจำกัด จ.บุรีรัมย์ สหกรณ์นิคม ได้แก่ สหกรณ์เดินรถกระทุ่มแบนจำกัด จ.สมุทรสาคร สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชจำกัด จ.นครศรีธรรมราช สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลตำรวจจำกัด กทม. สหกรณ์เครดิตยูเนียน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเขื่อนเพชรโค้งข่อยจำกัด จ.เพชรบุรี นอกจากนี้ได้มีการคัดเลือกปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เพื่อเข้ารับพระราชทานประกาศเกียรติคุณในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2559 จำนวน 3 สาขา คือ 1.นายคำพันธ์ เหล่าวงษี เป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง2.นายอัคระ ธิติถาวร เป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น 3.นายอคิศร เหล่าสะพาน เป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศโดยรอบมณฑลพิธีท้องสนามหลวงมีประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นพิธีประชาชนได้เข้ามาเก็บข้าวเปลือกอย่างคึกคักโดยส่วนใหญ่ต้องการนำบูชา และเพาะปลูก เพื่อความเป็นสิริมงคล

ที่มา ข่าวสดออนไลน์

onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno onlyfans leaked xxx onlyfans leaked videos xnxx 2022 filme porno filme porno
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X