ดื่มน้ำสมุนไพรกันเถอะคุณ
2014-10-23 16:01:38
Advertisement
คลิก!!!

ประกอบกับสมาคมแพทย์แผนไทยได้รณรงค์ให้ประชาชน หันมาใช้พืชผักผลไม้พื้นบ้านของไทยปรุงเป็นอาหารหรือใช้เป็นสมุนไพร เพื่อป้องกันและรักษาโรคบางชนิด มีงานวิจัยมากมาย ที่ศึกษาถึงการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เรื่องหนึ่งที่เป็นที่น่าสนใจคือ

 

เครื่องดื่มสมุนไพร ได้แก่ น้ำผัก น้ำผลไม้ ชาสมุนไพร น้ำอาร์ซี การดื่มเครื่องดื่มสมุนไพรแทนน้ำอัดสม หรือน้ำหวาน จะได้รับสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์ทั้ง วิตามิน เกลือแร่ เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ สารผัก (phytonutrient) เป็นสารเสริมสุขภาพมีบทบาทใช้ในการรักษาโรค เชื่อกันว่าสารเหล่านี้ช่วยป้องกันร่างกายจากโรคหัวใจ มะเร็ง เอดส์ และโรคอื่นๆ อีก อย่างไรก็ตามการดื่มน้ำสมุนไพรเป็นประจำ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย

 

น้ำสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่างๆ ของพืช เช่น ผลไม้ ผัก/ธัญพืชต่างๆ นำมาแปรรูปให้เหมาะสมตามฤดูกาล การเตรียมน้ำสมุนไพรเพื่อดื่มเองช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย รสชาติดีถูกปากของคนในครอบครัว อีกทั้งปลอดจากสารเคมีด้วย

 

คุณค่าและประโยชน์น้ำสมุนไพร น้ำสมุนไพรมีรสชาติอร่อยตามธรรมชาติ ให้คุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และเป็นอาหารต้านโรคโดยเฉพาะโรคอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากความเสื่อม ได้แก่ ผิวหนังเหี่ยวย่น ฝ้า กระ ข้อเสื่อม โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ อัมพาต ต้อกระจก มะเร็ง จนกระทั่งโรคเอดส์ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ สารผัก (phytonutrient หรือ phytochemical) และเส้นใยอาหาร

 

สารที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายกระชุ่มกระชวย บำรุงเส้นผม ควบคุมไขมัน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสารอาหารในน้ำสมุนไพรช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้สารอาหารชนิดอื่นได้ประโยชน์เต็มที่

 

อย่างไรก็ตามคุณค่าและประโยชน์ของน้ำสมุนไพร ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะได้รับมากน้อยขึ้นอยู่กับ

 

วิธีการเตรียมน้ำสมุนไพร - ด้วยการเตรียมน้ำสมุนไพร เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ควรคำนึงถึง การเลือกสมุนไพร เลือกที่สด ไม่มีรอยช้ำเน่า สีเป็นไปตามธรรมชาติ ความสดช่วยให้มีคุณค่าดี รสชาติดี สำหรับสมุนไพรที่ทำแห้งไว้ เช่น กระเจี๊ยบแดงแห้ง ความมีสีแดงคล้ำ แต่ไม่ดำ มะตูมแห้งสีน้ำตาลออกเหลือง ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม เพราะความผิดปกติเหล่านี้จะมีผลต่อกลิ่นและรสชาติของน้ำสมุนไพร

 

ความสะอาดของภาชนะ - ต้องสะอาด และเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของสมุนไพร ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะขาม มะม่วง ควรใช้ภาชนะเคลือบ

 

ความสะอาดของสมุนไพร - ควรล้างให้ถูกวิธี ถ้าสมุนไพรแห้งควรล้างอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ถ้าเป็นสมุนไพรสด ควรล้างอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีที่ติดมา และหลังจากปรุงเสร็จแล้วควรต้มฆ่าเชื้อด้วยวิธีพาสเจอไรซ์ (pasteurization) ที่อุณหภูมิ 65 องซาเซลเซียส 30 นาที หรือ 77 องซาเซลเซียส 1 นาที หรือ 88 องซาเซลเซียส 15 วินาที เพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสียและทำให้เกิดโรค หรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ การฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสมบัติด้านประสาทสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการน้อยที่สุด

 

น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม - การเตรียมน้ำเชื่อมเข้มข้น ทำได้โดยใช้น้ำตาลทราย 100 กรัม ผสมน้ำ 50 กรัม ตั้งไฟพอเดือด คนจนน้ำตาลละลายหมดยกลงทิ้งไว้ให้เย็น ตามอัตราส่วนนี้ จะได้น้ำเชื่อมประมาณ 10 ช้อนโต๊ะ หรือ 30 ช้อนชา ซึ่งการเติมน้ำเชื่อมในน้ำสมุนไพร ควรคำนึงถึงปริมาณที่ควรได้รับต่อวันด้วย ซึ่งข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน และแนวทาง การบริโภคอาหารสำหรับคนไทย พบว่า คนไทยควรได้รับน้ำตาล ไม่เกินวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งรวมถึงการรับประทานอาหารในมื้อต่างๆ ด้วย

 

อุปกรณ์ที่ใช้ทำน้ำสมุนไพร - ควรใช้ครกตำ หรือขูดให้เป็นฝอยแล้วคั้นด้วยผ้าขาวบาง เพื่อแยกน้ำสมุนไพรออกจากกาก จะช่วยทำให้ได้รับกลิ่นของสมุนไพรดีขึ้น อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ที่ใช้ทุกชนิด จะต้องสะอาด และเหมาะสมกับชนิดของสมุนไพร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ได้รับน้ำสมุนไพรที่มีคุณค่าและสะอาด

 

 

ที่มา  http://siamdara.com/

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X