แนะอาหารผู้ป่วยต่อมไทรอยด์ เลี่ยงผักกลุ่มเสี่ยง-ผลไม้รสหวาน
2015-06-25 19:40:36
Advertisement
Pyramid Game

 

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่มีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข มีหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด กระตุ้นให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะหัวใจและประสาท หากต่อมไทรอยด์ในร่างกายทำงานมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้สมรรถภาพการทำงานแปรปรวน ส่งผล กระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ความผิดปกติของโรคต่อมไทรอยด์ มีหลายชนิด แต่ที่สำคัญที่สุดคือ คอพอกชนิดไม่เป็นพิษ และคอพอกชนิด เป็นพิษ


คอพอกชนิดไม่ เป็นพิษ เกิดจากการขาดไอโอดีน ซึ่งธาตุไอโอดีนนี้มีมากในอาหารทะเล ไอโอดีนที่ควรได้รับในแต่ละวันของคนทั่วไป คือ 150 ไมโครกรัมหรือ 200 ไมโครกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร อาการที่สำคัญคือต่อมไทรอยด์จะโตขึ้นชัดเจน เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ง่วงง่าย ท้องผูกและอ้วนขึ้น


คอพอกชนิดเป็นพิษ เกิดจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมการหลั่งฮอร์โมนได้ ทำให้หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือดจำนวนมากโดยไม่ทราบสาเหตุและไม่ เกี่ยวข้องกับอาหารทะเล แต่มีปัจจัย ได้แก่ เพศและพันธุกรรม พบมากในเพศหญิงมากกว่าชาย 7-8 เท่า หากมีอาการไทรอยด์เป็นพิษจะสร้างฮอร์โมนออกมามากจะทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้น อย่างชัดเจน


"อรทัย เหลืองอ่อน" นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ร.พ.ปิยะเวท แนะนำอาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ว่า ควรเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และควรรับประทานผลไม้ที่มีรสไม่หวานจนเกินไป


อาหารที่ควร หลีกเลี่ยงได้แก่ กาแฟ ชา เครื่องดื่มชูกำลังและแอลกอฮอล์ ควรเลือกรับประทานเครื่องดื่มประเภทชาสมุนไพรแทน เช่น ตะไคร้ ขิง ดอกคำฝอย งดพริกชนิดเผ็ด เพราะจะไปเพิ่มเมแทบอลิซึ่ม ทำให้ใจสั่น หายใจติดขัด หน่อไม้ฝรั่งและสาหร่าย ผักกาด หน่อไม้ ทำให้เมแทบอลิซึ่ม (กระบวนการเผาผลาญอาหาร) ของร่างกายต้องทำงานเพิ่มขึ้น และควรระวังพืชกลุ่ม Cruciferae เช่น กะหล่ำปลีดิบ ทูนิป horseradish และเมล็ดพรรณผักกาดชนิดต่างๆ เพราะมีสารกลูโคซิโนเลท ไปขัดขวางการจับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดไทรอยด์เป็นพิษ


ควร เลือกกินอาหารที่ถูกหลักสุขลักษณะตามหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว กินข้าวเป็นหลัก สลับกับแป้งเป็นบางมื้อ รับประทานพืชผักผลไม้ ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย


ผู้ที่ สงสัยว่ามีอาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เช่น กินอาหารปกติแต่น้ำหนักเพิ่ม หน้าบวม อ่อนเพลีย ผมร่วง ใจสั่น ขี้ร้อน เหนื่อยง่าย ควรตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย วิธีการเจาะเลือดที่เรียกว่า TSH (Thyroid stimulating hormone) ฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อดูระดับการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และความผิดปกติอื่นๆ เพื่อรักษาต่อไป

 
ขอขอบคุณที่มา  ข่าวสดออนไลน์
 
 
.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X