ทำไมค่ายเพลงเคป็อปถึงมีสัญญาที่เข้มงวด
2020-07-13 10:44:17
Advertisement
คลิก!!!

หากคุณเป็นแฟนคลับวงการเคป็อป คงเคยได้ยินปัญหาเรื่องความขัดแย้งเกี่ยวกับสัญญาระหว่างศิลปินกับบริษัทต้นสังกัดกันมาบ้าง สัญญาระหว่างเด็กหนุ่มสาวที่ตามหาความฝันในการเป็นไอดอลกับบริษัทบันเทิงที่จะรับผิดชอบพวกเขาในอนาคตนั้นเต็มไปด้วยข้อสัญญาเข้มงวด และนี่คือเหตุผลที่บริษัทต้องจัดทำสัญญาเช่นนั้นขึ้น

การจะปั้นไอดอลหนึ่งคนขึ้นมาได้ บริษัทต้องทุ่มเงินและลงทุนไปกับเด็กฝึกหัดคนนั้น หลายบริษัทลงทุนจ่ายค่าเช่าบ้าน รวมถึงค่าอาหาร และบางบริษัทใหญ่อาจมีค่าเบี้ยเลี้ยงให้ สำหรับเด็กฝึกหัดที่เป็นชาวต่างชาติ พวกเขาต้องเข้าชั้นเรียนภาษาเกาหลี เตรียมในทุกด้านเพื่อให้พร้อมต่อการเดบิวต์

ดังนั้นเมื่อไอดอลเดบิวต์ รายได้ของพวกเขาต้องเข้าบริษัทเช่นกัน เป็นการจ่ายคืนสิ่งที่บริษัทได้ลงทุนไป และสัญญากับศิลปินนี่เองคือหลักค้ำประกันว่าบริษัทจะได้เงินที่ลงทุนไปจากศิลปินคืน การจ่ายเงินคืนให้บริษัทมีอยู่ 2 ทาง คือ 1. ค่อยๆทยอยจ่ายไปเรื่อยๆ จนหมดหนี้ โดยแบ่งเงินรายได้กับบริษัทเป็นสัดส่วน อาจจะ 50/50 หรือบางครั้ง 70/30 และ 80/20 เป็นต้น 

การลงทุนสร้างไอดอลหนึ่งวงนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ยกตัวอย่างเช่นวง LOONA เกิร์ลกรุ๊ปจากค่าย Blockberry Creative ซึ่งมีรายงานว่าค่าใช้จ่ายในการเดบิวต์ของวงสูงกว่า GDP ของประเทศนีอูเอ ซึ่ง GDP ของประเทศนีอูเอในปี 2003 อยู่ที่ประมาณ 311 ล้านบาท

มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่เสียเงินมากที่สุดในการโปรโมทไอดอล 1 วง คำตอบคือ ค่าอาหาร เพราะไอดอลนั้นมีความจำเป็นต้องมีร่างกายที่แข็งแรงเพื่อทำการแสดงบนเวทีได้อย่างเต็มที่

ยกตัวอย่างเช่นวง SEVENTEEN ที่มีสมาชิกทั้งหมด 13 คน ค่าอาหารของพวกเขาอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาทต่อวัน เฉลี่ย 1 เดือนอยู่ที่ประมาณ 935,000 บาท นี่แค่ค่าอาหารนะ! 

ค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง SM Entertainment, JYP Entertainment และ YG Entertainment มีสัญญาในการแบ่งเงินรายได้กับไอดอลเช่นกัน ตอนเริ่มเดบิวต์พวกเขาไม่ได้เรียกเงินจากไอดอลมาก แต่เมื่อไอดอลได้รับความนิยมมากขึ้น พวกเขามีกิจกรรมอย่าง ทัวร์คอนเสิร์ต, รายการวาไรตี้ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้บริษัทไม่ต้องลงทุน พวกเขาเลยได้สัดส่วนจากรายได้เหล่านี้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ถึงแม้อาจจะฟังดูแย่ แต่บริษัทได้นำเงินส่วนหนึ่งที่เรียกเก็บคืนมาได้ไว้ใช้โปรโมทวงต่อเช่นกัน 

อย่างไรก็ตามบริษัทเล็กนั้นดูเหมือนจะมีสัญญาที่โหดกว่าบริษัทใหญ่ บางบริษัทไม่ใด้เงินไอดอลเลย ดูแลไม่ดี และไม่มีกิจกรรมโปรโมท สัญญาซึ่งส่วนใหญ่มีระยะเวลา 7 ปี กลายเป็นเหมือนเชือกมัดไม่ให้ไอดอลไปไหนได้แม้พวกเขาจะได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมเลย

บางบริษัทไม่ได้กำไรจากการโปรโมทไอดอล พวกเขาไม่มีเงินมาหมุนเวียนในการทำกิจกรรมโปรโมทไอดอลต่อ ทำให้สุดท้ายแล้ว วงถูกปล่อยทิ้งไว้ ได้แต่รอหมดสัญญาเพียงเท่านั้น

เราได้เห็นกรณีไอดอลฟ้องร้องบริษัทต้นสังกัดมาเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่นวง B.A.P ที่ดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัท TS Entertainment หลังจากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและสัดส่วนรายได้ที่ไม่ยุติธรรม, Block B ฟ้องร้องค่าย Stardom Entertainment เนื่องจากไม่ได้รับค่าตอบแทนมาตลอดหลายปี แม้ว่าตามสัญญาแล้วพวกเขาต้องได้รับเงินทุกวันที่ 25 ของเดือน

แม้แต่ค่ายใหญ่ก็มีปัญหาการฟ้องร้องเรื่องสัญญาเกิดขึ้น ยกตัวอย่าง SM Entertainment ที่ถูกสมาชิกชาวจีนวงเอ็กโซ ทั้ง คริส, ลู่หาน และเทา ฟ้องร้องเนื่องจากได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมและแบ่งแยกระหว่างสมาชิกชาวจีนและเกาหลี รวมถึงรายได้ด้วย

ปัญหาเรื่องสัญญาระหว่างไอดอลและบริษัทคงมีมาให้เห็นกันเรื่อยๆ แต่หวังว่าจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อยเช่นกัน เพื่อประโยชน์ของทั้งตัวไอดอลเองที่ได้ทำตามฝันและได้รับรายได้ที่เหมาะสม ส่วนบริษัทก็ได้กำไรจากเงินที่ลงทุนไปเช่นกัน

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X