เหตุผลของเด็กชายเกาหลีไม่ยอมบอกใครว่าถูกทำร้ายมาเป็นปี ที่จะทำให้คุณเสียน้ำตา
2020-04-06 09:37:17
Advertisement
คลิก!!!

คำเตือน: เนื้อหามีข้อความเกี่ยวกับการกระทำรุนแรงต่อเด็ก

เมื่อ 3 ปีก่อน ศูนย์สวัสดิการท้องถิ่นได้แนะนำครูสอนพิเศษส่วนตัว (A) ให้กับคุณแม่คนหนึ่ง (B) ซึ่ง B คิดว่ามันน่าจะเป็นผลดีต่อลูกชายวัย 11 ขวบของเธอ เธอจำได้ว่าครั้งแรกที่เจอกัน A เป็นคน ‘ใจดี, สุภาพ และพูดจาเรียบร้อย’ A มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาและมีประสบการณ์การสอนมากมาย 

คุณแม่ B นั้นตามองไม่เห็นทั้ง 2 ข้าง ทำให้เธอรู้สึกว่าไม่สามารถช่วยเหลือเรื่องการเรียนของลูกได้ เธอจึงตัดสินใจให้ลูกชายเรียนพิเศษ ซึ่งลูกของเธอก็มีปัญหาสายตาเล็กน้อยเช่นกัน B และลูกชายของเธอรอให้ A มาสอนอยู่เป็นประจำ

หลังจาก A มาสอนที่บ้าน B ก็เริ่มได้ยินคำพูดของเพื่อนบ้านที่ทำให้เธอเริ่มไม่สบายใจเกี่ยวกับลูกชายของเธอ

“ผู้หญิงแถวบ้านฉันบอกว่า ‘ลูกเธอมีรอยช้ำอีกแล้ว’ พวกเขาบอกว่ารอยเหมือนมาจากการทะเลาะกัน แต่พอถามลูกชายของฉัน เขากลับตอบว่าเขาแค่ล้มลงเอง เขาบอกให้ฉันไม่ต้องกังวล ฉันเลยไม่รู้ว่าต้องทำอะไร” – B

B มีความสงสัยมากขึ้น แต่เธอไม่สามารถมองเห็นได้ว่าลูกชายของเธอโดนอะไรมา จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกสาวของ B ได้ยินเสียงมาจากห้องของน้องชายซึ่งกำลังเรียนพิเศษอยู่ของเธอ

“ฉันอยู่ในห้องนั่งเล่น ตอนที่ได้ยินเสียงดังมาก แล้วน้องชายของฉันก็ร้องไห้” - ลูกสาวของ B

B ได้รู้ความจริงจากการช่วยเหลือของสมาชิกในครอบครัว โดยเธอได้ซ่อนกล้องเอาไว้ในห้องของลูกชาย

พอ A มาสอนอีกครั้ง เธอจึงได้ยินเสียงว่า A ทำอะไรกับลูกชายของเธอบ้าง เธอได้ยินทุกอย่างจากกล้องที่แอบถ่ายภาพเอาไว้

“ทำไมไม่ทำอันนี้ให้เสร็จ? ทำไมโกหก? แกโกหกกับฉันหลายครั้งแล้วนะ นี่ไม่ดีเลยนะเจ้าหนู รู้ไหมว่าฉันเบื่อแค่ไหนที่ต้องมาอารมณ์เสียแบบนี้เวลาเจอเธอ?” – A

B แทบไม่อยากจะเชื่อว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดในบ้านของเธอ

“ลูกชายของฉันมีปัญหาเรื่องการมองเห็น ฉันแทบไม่เคยจะวางนิ้วลงบนใบหน้าของเขา เพราะกลัวว่าจะมีผลต่อดวงตาของลูกถ้าไม่ระวัง แต่ว่า A ตบเขา...เพราะเธอรู้ว่าฉันจะไม่รู้...มันทำให้ฉันเจ็บปวด ทุกอย่างคือความผิดของฉัน” – B

เมื่อ B รู้ความจริง เธอแจ้งตำรวจให้มาจับ A

ตำรวจ: เราได้รับแจ้งว่าคุณทำร้ายร่างกายเด็กชายคนนี้เวลามาติวหนังสือมาโดยตลอด จริงหรือไม่?

A: ฉันเคยหยิกแก้มเขานิดหน่อย

ตำรวจ: ทำไมถึงไปหยิกแก้มเขา 

A: เพราะว่าเขาชอบทำการบ้านข้ามๆ หรือทำไม่เสร็จ

ตำรวจ: ตอนนี้คุณถูกจับกุมข้อหาทำร้ายร่างกายผู้เยาว์ คุณมีสิทธิที่จะมีทนาย...

A ยังทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมและไม่สำนึกผิดตอนถูกจับ เธอบอกว่า “เธอหวังดีกับเด็กชาย” และ การที่ B แจ้งตำรวจจับเธอต่อหน้าเด็กชายแบบนนี้ จะทำให้เขามีความทรงจำที่เลวร้าย 

“คุณต้องเข้าใจก่อนว่า บางครั้งฉันก็ตั้งใจเกินไป และคิดว่าเด็กที่สอนเหมือนลูก ฉันเป็นห่วงและรักพวกเขามาก ฉันเลยรู้สึกหงุดหงิดที่พวกเขาทำไม่ได้ทั้งที่เขาควรทำได้ดีกว่านี้ นี่คือนิสัยของฉัน แล้วการที่คุณมาจับกุมฉันแบบนี้ ต่อหน้าเด็ก ฉันคิดว่าไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ คุณคิดว่าเขาจะมีความรู้สึกอย่างไร? เขาเห็นครูสอนพิเศษที่เขาเชื่อใจถูกจับออกจากบ้านโดยตำรวจมาแบบนั้น” - A

แต่ความจริงก็คือความจริง เมื่อนักจิตวิทยาถามลูกชายของ B ว่าทำไมเขาถึงไม่เคยขอความช่วยเหลือ เขาตอบว่า 

“ผมไม่รู้ว่าทำไมเธอถึงโกรธอยู่ตลอดเวลา ผมเข้าใจว่าคนเราหงุดหงิดได้ แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไมเธอถึงมาลงกับผม มันยากนะครับ แต่ผมไม่พูดอะไรเพราะว่าผมไม่อยากให้แม่กังวล ผมคิดว่าถ้าแม่รู้ ครอบครัวคงจะรู้สึกแย่และเครียดเรื่องผม ผมไม่อยากให้เป็นแบบนั้น ผมเลยเงียบและทนทุกสิ่ง มันก็โอเคนะครับ นี่แหละผมถึงไม่ขอความช่วยเหลือ” - ลูกชายของ B

B ให้ลูกชายสัญญาว่าจะไม่ปิดบังอะไรเธออีก และอย่าพยายามแก้ปัญหาคนเดียว

“ได้โปรดอย่าคิดอะไรคนเดียวแบบนี้อีกนะ ลูกต้องสัญญากับแม่ แม่สัญญาว่ามันจะไม่เป็นไรถ้าลูกบอกแม่” – B

ตอนนี้คดีทำร้ายร่างกายผู้เยาว์ของ A กำลังอยู่ในขั้นตอนการสืบสวน ศูนย์สวัสดิการท้องถิ่นที่แนะนำ A ให้กับ B ยอมรับว่า A เคยมีประวัติหยิกเด็กคนอื่นและครอบครัวอื่นก็เลิกจ้างเธอ ทนายและ A พยายามลดโทษด้วยการบอกว่าเธอทำร้ายเด็กจริง แต่ทำแค่ 1 ครั้งตอนที่ครอบครัวติดกล้องเท่านั้น

ชาวเน็ตเกาหลีขนลุกต่อความไม่สำนึกของ A 

“เขาเป็นเด็กดี ส่วน A ทำร้ายเขาเพื่อแก้เครียดให้ตัวเอง! การทำร้ายร่างกายเด็กควรได้รับโทษหนัก เธอต้องได้รับการลงโทษต่อสิ่งที่เธอทำไป”

“โอ้โห้ ปีศาจร้ายมาก”

“ฉันรู้สึกแย่มาก ถึงกับร้องไห้กับเรื่องนี้”

“เขาแค่เด็กเอง! ทำไมไปทำร้ายเขา? เธอเป็นบ้าเหรอ ความคิดของเด็กชายเป็นโตสมวัยของเขา มันทำให้ฉันใจสลาย”

“หัวใจของฉันเหมือนถูกฉีกเป็นชิ้นๆเมื่อได้ยินเรื่องนี้”

.



Latest





เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “นโยบายการใช้คุกกี้”   ยอมรับ   นโยบายการใช้คุกกี้ X